2nd benefit

2nd benefit

องค์กรผู้บริโภคเสนอนโยบายปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค รธน.ต้องยึดหลักสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ ลดอำนาจรัฐเพิ่มอำนาจประชาชน ขจัดการเอาเปรียบและคอรัปชั่น

IMG 1896

วันนี้ (2 ธ.ค. 57/รัฐสภา) เครือข่ายผู้บริโภค นำโดย น.ส.บุญยืน ศิริธรรม ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค พร้อมด้วย กรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน กลุ่มคนรักหลักปรักนสุขภาพและรัฐวิสาหกิจ เครือข่ายเอดส์ และเครือข่ายผู้สูงอายุ เข้ายื่นข้อเสนอนโยบายปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค ต่อ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ , นพ.อำพล จินดาวัฒนะ ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปด้านสังคม (สปช) , พญ.พรพันธุ์ บุญยรัตนพันธุ์ ประธานกรรมาธิการสาธารณสุข และ น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ประธานคณะกรรมาธิการด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ให้รัฐธรรมนูญต้องยึดหลักการ สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยต้องลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน มีกลไกที่ดีในการตรวจสอบการเอาเปรียบผู้บริโภคและการคอรัปชั่น และรับรองสิทธิพลเมืองในฐานะผู้บริโภคตามหลักสิทธิผู้บริโภคสากล 8 ประการ พร้อมให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ

น.ส.บุญยืน กล่าวถึงข้อเสนอต่อการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคว่า ต้องมีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานรัฐ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภคทำหน้าที่ให้ความเห็นประกอบการพิจารณาของหน่วยงานรัฐในการตราและการบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขององค์การอิสระด้วย โดยขอให้ใช้ร่างกฎหมายฉบับที่ผ่านการพิจารณาโดยกรรมาธิการร่วมของสภาผู้แทนราษฎร

“พลเมืองควรได้รับการรับรองสิทธิผู้บริโภคในการดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีปลอดภัย ด้วยการรับรองสิทธิชุมชน รวมถึงการมีส่วนร่วมในการจัดการบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ ด้วยการระบุอย่างชัดเจน เรื่องการรับฟังความเห็นประชาชน การจัดทำประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพ ด้านสังคม โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และให้มีองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพ ด้านสังคม ด้านผู้บริโภค เพื่อให้ความเห็นต่อการดำเนินกิจกรรม โครงการที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ต้องยึดหลักการยินยอมที่ได้รับการบอกแจ้งล่วงหน้า และเป็นอิสระในการตัดสินใจ (Free, Prior and Informed Consent: FPIC) ของชุมชน” ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค กล่าว

วันเดียวกัน น.ส.สุรีรัตน์ ตรีมรรคา กรรมการและอนุกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านบริการสุขภาพ องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน นำเครือข่ายเข้ายื่นข้อเสนอปฏิรูปบริการสุขภาพให้ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม สุขภาพมาตรฐานเดียว ต่อ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และกรรมาธิการปฏิรูปเช่นกัน โดยเสนอให้รวมกองทุนสุขภาพทั้ง 3 กองทุน คือ บัตรทอง ประกันสังคม และข้าราชการ ไว้ด้วยกัน โดยให้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นผู้บริหาร และให้นำเองที่ผู้ประกันตนเอาไปเข้ากองทุนชราภาพเพื่ออนาคตหลังเกษียณจะได้รับเงินชดเชยมากขึ้น

IMG 1888 2993929934

 

 

บทความเนื้อหาใกล้เคียงกัน:

|