2nd benefit

2nd benefit

คำพิพากษาดคี : ซอยร่วมฤดี

5802060001

  

 

 

         ตามที่ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษายืนตามศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2557 กรณีสร้างอาคารสูงเกิน 23 เมตรในซอยร่วมฤดี กรุงเทพมหานคร ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตปทุมวัน และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปฏิบัติตามมาตรา 40,41,42 และ 43 แห่งพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โดยศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้สำนักงานเขตปทุมวัน (ผู้ถูกฟ้องที่ 1 ) และ กรุงเทพมหานคร (ผู้ถูกฟ้องที่ 2) ให้เร่งรื้อถอนหรือลดความสูงอาคารไม่ให้เกิน 10,000 เมตร ภายใน 60 วันนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด

          วันนี้ (6 ก.พ. 58) นายเฉลิมพงษ์ กลับดี ผู้รับมอบอำนาจผู้ฟ้องคดี ทั้ง 24 ราย คดีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และละเลยต่อหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ กรณีการสร้างตึกสูงเกิน 24 เมตรในซอยแคบไม่เกิน 10 เมตร ได้ออกมาตั้งคำถามกับสำนักงานเขตปทุมวันเรื่องรังวัดที่ดินใหม่ และ ออกคำสั่ง ตามมาตรา40 แห่ง พรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 1.ให้เจ้าของอาคารระงับการก่อสร้างดัดแปลงอาคาร 2.ให้เจ้าของอาคารแก้ไขปรับปรุงอาคารให้ถูกต้อง ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 3.ห้ามมิให้บุคคลใดๆ เข้าใช้อาคารดังกล่าวอย่างเด็ดขาด ซึ่งตามกฎหมายต้องมีการออกคำสั่งตามข้อ 1 และข้อ 3 ก่อน แล้วพิจารณามีคำสั่งตามมาตรา 41 หรือมาตรา 42 แล้วแต่กรณี ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้มีคำสั่งตาม (1) ซึ่งการกระทำดังกล่าวไม่ตรงตามกฎหมาย ทำให้ผู้ประกอบการมีโอกาสอุทธรณ์คำสั่ง และยืดระยะการปฏิบัติตามคำสั่งออกอีกเพราะผู้ได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน เป็นเหตุให้การแก้ไขปัญหายืดเยื้อยาวนาน

 

         นายเฉลิมพงษ์ กล่าวว่า “การแจ้งรังวัดที่ดินใหม่ของสำนักงานเขตปทุมวันและสำนักงานที่ดินไม่ทราบเจตนา และกลุ่มผู้ฟ้องคดีไม่เข้าใจถึงเหตุผลที่มาทำการรังวัดซ้ำในครั้งนี้ว่าทำเพื่อประสงค์อะไร และเป็นการผิดระเบียบของทางราชการหรือไม่ เพราะว่าหนังสือที่สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงวันที่ 16 กันยายน 2551 ได้แจ้งเรื่องหลักฐานการรังวัดตรวจสอบ โดยสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครทั้ง 2 ครั้ง ใช้เป็นหลักฐานทางราชการได้ และเหตุที่สำนักงานเขตปทุมวันอ้างว่า ในฐานะผู้ที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล เพื่อพิสูจน์ทราบให้ชัดเจนถึงขอบเขตทางที่มีความกว้างดังกล่าว นั้น เกี่ยวข้องอย่างไรกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครอง”

         ด้าน นายแพทย์สงคราม ทรัพย์เจริญ ผู้ฟ้องคดี กล่าวว่า “เอกสารที่เคยทำรังวัดก่อนขึ้นศาลมีการเซนต์รับรองจากทุกฝ่ายแล้ว จึงถือว่าเป็นเอกสารทางราชการ แต่ต่อมากลับมีการนัดรังวัดที่ดินใหม่ ตนซึ่งเป็นผู้ฟ้องคดีจึงได้ทักท้วงไปยังสำนักงานเขตในวันนี้ จึงทราบว่าได้ยกเลิกการรังวัดแล้ว แต่สอบถามไปยังเจ้าหน้าที่ที่ดินกลับพบว่ายังไม่มีคำสั่งดังกล่าวออกมา ซึ่งถือว่าผิดปกติ”

         ขณะที่ นายเฉลิมพงษ์ ฝากถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครว่า “จะดำเนินการอย่างไรกับผู้มีอำนาจออกหนังสือในการตรวจสอบความกว้างของซอยร่วมฤดี ในปี 2548 เพราะทำให้สำนักงานเขตปทุมวันและกรุงเทพมหานครเสียหาย”

         นายแพทย์สงคราม กล่าวเพิ่มเติมว่า “การสร้างตึกสูงในซอยกว้างไม่ถึง 10 เมตร หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคอื่นไม่สามารถเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาได้ หากมีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เมื่อมีคนร้องว่า กทม. สร้างตึกผิดกฏหมาย ก็จะช่วยให้ความเห็นประกอบการพิจารณาใบอนุญาตก่อสร้างว่าไม่ถูกต้อง ตรวจสอบหน่วยงาน เพราะตึกที่สร้างกระทบต่อการใช้รถใช้ถนนของประชาชนในซอยดังกล่าว”

         อย่างไรก็ตาม กรณีที่สื่อลงข่าวว่า “สำนักงานเขตปทุมวันได้ออกคำสั่งแจ้ง ไปยังเจ้าของอาคารให้ดำเนินการตามกฎหมายแล้ว และกำหนดให้เร่งแก้ไขปรับปรุงอาคารให้ถูกต้องใน 30 วัน แต่หากเจ้าของอาคารไม่ดำเนินการตามคำสั่ง ทางสำนักงานเขตปทุมวันก็จะออกคำสั่งให้เจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารตามกฎหมายต่อไป แต่ทั้งนี้เจ้าของอาคารก็มีสิทธิตามกฎหมายในการยื่นอุทธรณ์ให้แก่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 52 ของพ.ร.บ.ควบคุมอาคารได้ ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นกรรมการที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ในส่วนของกรมโยธาธิการและผังเมือง”นั้น ทางกลุ่มผู้ฟ้องคดีเห็นว่า ผู้อำนวยการสำนักงานเขตปทุมวันน่าจะปฏิบัติไม่ตรงตามคำพิพากษาของศาลปกครอง โดยมีคำสั่งเกินเลยไปจากที่กฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 40 แห่ง พรบ.ควบคุมอาคารชุด พ.ศ. 2522 เปิดช่องให้มีการอุทธรณ์เพื่อประวิงการบังคับคดีได้

 

คำพิพากษาคดี : ซอยร่วมฤดี กรณีก่อสร้างอาคารสูงในซอยถนนกว้างไม่ถึง 10 เมตรตลอดแนว

คดีหมายเลขดำที่ อ. 310/2555

คดีหมายเลขแดงที่ อ.588/2557

 

 

บทความเนื้อหาใกล้เคียงกัน :

|