2nd benefit

2nd benefit

คำพิพากษาคดี : โทลล์เวย์ กรณี หน่วยงานหรือเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

         3 ก.พ.53 - มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค สถาบันพัฒนานักกฎหมายสิทธิมนุษยชน นักศึกษา และประชาชนผู้เสียหายจากการขึ้นค่าผ่านทางโทลล์เวย์ ร้องต่อศาลปกครองกลาง ฟ้องอธิบดีกรมทางหลวง  ปลัดกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรี เพิกถอนสัญญาสัมปทาน เอื้อประโยชน์ให้บริษัทเอกชนใช้อำนาจรัฐได้ตามอำเภอใจโดยไม่ต้องขอความเห็น จากรัฐและสาธารณชนในการขึ้นค่าบริการสาธารณะ รวมทั้งขัดรัฐธรรมนูญที่ไม่ขอความเห็นจากองค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภค

         จากการที่บริษัทดอนเมืองโทลล์เวย์ขึ้นค่าผ่านทางจาก 55 บาทเป็น 85 บาท ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา นั้น จนก่อให้เกิดความเสียหายเดือดร้อนต่อสาธารณะชนทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและจิตใจที่เกิดจากความเครียดจากค่าใช้จ่ายการจราจร และปัญหาจราจร มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค สถาบันพัฒนานักกฎหมายสิทธิมนุษยชน นักศึกษา และประชาชนผู้เสียหายจากการขึ้นค่าผ่านทางโทลล์เวย์ฟ้องอธิบดีกรมทางหลวง  ปลัดกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรี ต่อศาลปกครอง เพื่อให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนการให้เอกชนใช้อำนาจรัฐได้ตามอำเภอใจ ในการขึ้นค่าบริการสาธารณะ ให้กรมทางหลวงคิดค่าผ่านทางที่กำหนดบนพื้นฐานของต้นทุนการให้บริการจากผู้ ใช้บริการสาธารณะ ซึ่งเป็นค่าบริการที่สมเหตุสมผล และชอบด้วยหลักกฎหมายปกครองว่าด้วยการบริการสาธารณะ แทนการคิดค่าผ่านทางจากผลตอบแทน หรือรายได้ หรือกำไร  ของผู้ประกอบการ หรือผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น

         โดยการฟ้องร้องครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนการขึ้นค่าบริการใน ครั้งนี้ โดยให้กรมทางหลวงคิดค่าผ่านทางที่กำหนดบนพื้นฐานของต้นทุนการให้บริการจาก ผู้ใช้บริการสาธารณะ และให้เพิกถอนบันทึกข้อตกลง ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้บรรเทาทุกข์ชั่วคราว เพื่อให้จ่ายค่าบริการโทลล์เวย์ในอัตราเดิมจนกว่าคำพิพากษาจะถึงที่สุด

         จากการศึกษาสัญญาสัมปทาน และ การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในสัญญาทั้งหมด 3 ฉบับ องค์กรผู้บริโภค และนักวิชาการด้านกฎหมาย พบว่า สัญญาสัมปทาน และการแก้ไขข้อตกลงทั้ง 3 ครั้ง เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ทำให้มีการตัดอำนาจของรัฐในการดูแลประชาชนด้านบริการสาธารณะดังกล่าว โดยเฉพาะอำนาจในการกำหนดอัตราค่าผ่านทางที่เหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจของ ประชาชนในปัจจุบัน

         นอกจากนี้ องค์กรผู้บริโภคและนักวิชาการด้านกฎหมาย ยังพบว่า ประชาชนถูกบั่นทอนสิทธิในการรับรู้ข้อมูลหรือคำชี้แจงเกี่ยวกับอัตราค่าผ่าน ทางว่าเป็นการคิดคำนวณมาจากไหน และการคิดอัตราค่าบริการควรกำหนดบนพื้นฐานของต้นทุนการให้บริการ ไม่ใช่การกำหนดจากฐานของรายได้หรือกำไรของผู้ประกอบการ ราคานี้ยังถือว่าไม่สอดคล้องกับรายได้ของประชาชนภายในประเทศ หากคิดเปรียบเทียบกับรายได้ขั้นต่ำ ประชาชนต้องเสียค่าบริการทางด่วนเป็นอัตราสูงมากกว่าร้อยละ ๔๐ ของรายได้ขั้นต่ำของประชาชน  ซึ่งแตกต่างจากประเทศที่มีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมใกล้เคียงกัน เช่น ประเทศมาเลเซียที่ประชาชนเสียค่าบริการทางด่วนประมาณร้อยละ ๑๐ ของรายได้เท่านั้น และรัฐบาลมาเลเซียยังมีนโยบายลดค่าบริการทางด่วนให้กับประชาชนลงอีกร้อยละ ๒๐ ของค่าใช้จ่ายเดิม

         ในสัญญาสัมปทานนี้ กลุ่มผู้บริโภคและนักวิชาการด้านกฎหมาย พบว่ามีความฉ้อฉล เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค ไม่รักษาผลประโยชน์สาธารณะ ขัดต่อสิทธิและแนวนโยบายแห่งรัฐตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ขัดหลักกฎหมายมหาชน และทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐและประชาชนโดยรวม สรุปได้ดังต่อไปนี้

-  การคืนผลตอบแทนกลับสู่รัฐ กำหนดอยู่ในราคาที่ต่ำมาก เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ทรัพย์สินของรัฐตลอดระยะเวลาสัมปทาน ๒๕ ปี คิดเพียงวันละประมาณ ๒๒ บาท หรือ ๘,๐๐๐ บาทต่อปี ขณะที่บริษัทฯมีรายได้โดยเฉลี่ย 4.4 ล้านบาทต่อวัน (สี่ล้านสี่แสน)

-  ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้างทางยกระดับบริษัทฯ มิได้ใช้ความระมัดระวังและไม่คำนึงถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อทรัพย์สิน สาธารณะในระยะยาว ส่งผลให้เกิดความเสียหายบนถนนวิภาวดีรังสิตส่วนช่องจราจรด้านในติดกับเสา ตอม่อ และทำให้เกิดความเสียหายบนพื้นผิวจราจรเป็นลักษณะลูกคลื่นตลอดเส้นทาง ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่รถยนต์บนถนนวิภาวดีรังสิต อีกทั้ง ยังใช้งบประมาณของรัฐในการซ่อมแซมบำรุงพื้นผิวจราจรตลอดเส้นทางอย่างต่อเนื่อง

-  บริษัทฯ เพิ่มรายได้ให้กับกิจการตนเอง โดยไม่คำนึงถึงปัญหาการจราจรบนถนนวิภาวดีรังสิต ด้วยการขยายช่องเก็บอัตราค่าผ่านทางยกระดับโทลล์เวย์หลายช่อง ทำให้จำนวนช่องจราจรบนถนนวิภาวดีรังสิตที่ใช้สำหรับการจราจรทางปกติลดลง เพราะต้องแบ่งทางจราจรดังกล่าวไปใช้สำหรับการขยายช่องเก็บอัตราค่าผ่านทางยก ระดับข้างต้น

-  สัญญาสัมปทานอนุญาตให้การก่อสร้างของบริษัทฯ ทำลายโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นบริการสาธารณะเดิมของรัฐ (แยกเกษตร และแยกหลักสี่) ซึ่งในการก่อสร้างไม่มีความจำเป็นต้องทุบหรือดำเนินการรื้อสะพาน ทำให้รัฐเสียหายทั้งที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากการก่อสร้างสะพานลอยดังกล่าวใช้งบประมาณของรัฐไปเป็นจำนวนมาก แต่การรื้อถอนทรัพย์สินของรัฐที่ยังใช้การได้ดีกลับไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย ให้กับรัฐแต่ประการใด

-  รัฐต้องสูญเสียงบประมาณในการสร้างส่วนต่อขยายอนุสรณ์สถาน-รังสิต จำนวนหลายพันล้านบาท และ งบประมาณ 60 ล้านบาทโดยไม่จำเป็นและไม่เป็นธรรมในการสมทบการก่อสร้างทางยกระดับเชื่อมกับ อากาศยานนานาชาติกรุงเทพมหานคร ที่ดอนเมือง และทางด่วนระยะที่สองของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ที่สร้างขึ้นที่ดินแดง ทั้งๆ ที่ถูกระบุในสัญญาสัมปทานเดิม ว่า บริษัทจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง แต่กลับแก้ไขสัญญาสัมปทานทำให้รัฐเสียหายและสูญเสียงบประมาณในการก่อสร้าง โดยการแก้ไขสัญญาสัมปทานไม่ได้ทำให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะแต่ประการใด เช่น ลดราคาค่าผ่านทาง แต่เอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนในการสนับสนุนค่าก่อสร้าง 

-  มีการอนุญาตให้ใช้ ส่วนต่อขยายจากดอนเมือง – รังสิต ซึ่งกรมทางหลวงจัดสร้างขึ้นโดยงบประมาณของแผ่นดิน เชื่อมต่อกับทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์เดิม โดยตามบันทึกข้อตกลงแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทาน ฉบับที่ 3/2550 ข้อ 8 ระบุว่า “ กรมทางหลวงจะไม่เก็บเงินค่าผ่านทางบนถนนทางยกระดับช่วงอนุสรณ์สถาน – รังสิต ทั้งขาเข้าและขาออกตลอดอายุสัมปทานนี้”

         นอกจากนี้ผู้ฟ้องคดี ขอให้ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนสัญญาสัมปทานฯ ข้อ 5 ที่ให้อำนาจเอกชนเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการใช้อำนาจแทนรัฐในการขึ้นราคาค่า บริการสาธารณะ ตามบันทึกข้อตกลงฯ ฉบับที่ 3/2550

         ให้กรมทางหลวงคิดค่าผ่านทางที่กำหนดบนพื้นฐานของต้นทุนการให้บริการจาก ผู้ใช้บริการสาธารณะ ซึ่งเป็นค่าบริการที่สมเหตุสมผล และชอบด้วยหลักกฎหมายปกครองว่าด้วยการบริการสาธารณะ แทนการคิดค่าผ่านทางจากผลตอบแทน หรือรายได้ หรือกำไร  ของผู้ประกอบการ หรือผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น โดยดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติวิธี ปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

         ให้เพิกถอนบันทึกข้อตกลงฯ ฉบับที่ 3/2550 ฉบับวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2550 อันเป็นการทำสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ และมติคณะรัฐมนตรี ฉบับวันที่ 11 เมษายน 2549และ ฉบับวันที่ 10 เมษายน 2550 ขอศาลปกครองกลางได้โปรดบรรเทาทุกข์ชั่วคราวให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 4 และ บริษัทฯ คิดอัตราค่าผ่านทางในอัตราเดิมก่อนประกาศขึ้นราคาเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2552 จนกว่าคำพิพากษาจะถึงที่สุด

ที่มา: www.consumerthai.org 

 

คำพิพากษาคดี : โทลล์เวย์ เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

     คดีหมายเลขดำที่ 2038/2552 , 206/2558

     คดีหมายเลขแดงที่ 1951-1952/2558

 

 

ข่าวบทความเนื้อหาใกล้เคียงกัน:

|

Tags: โทลล์เวย์, ทางยกระดับ