2nd benefit

2nd benefit

สมาคมพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสมุทรสงคราม

วัตถุประสงค์
1. เพื่อสนับสนุนและสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายผู้บริโภคในการปกป้องคุ้มครองสิทธิ
2. เพื่อสนับสนุนองค์กรผู้บริโภคภาคตะวันตกให้สามารถดำเนินงานเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อขับเคลื่อนและผลักดันข้อเสนอนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคและสาธารณะ
4. ไม่แสวงหาผลประโยชน์อันมิชอบ
5. ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง หรือการดำเนินงานทางการเมืองอันขัดต่อระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
6. ไม่จัดตั้งโต๊ะบิลเลียต หรือสนุ๊กเกอร์

 

ที่อยู่สำนักงาน :: 2/71 ชั้นที่ 1 หมู่ที่ 2 ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม 75000

เบอร์ติดต่อองค์กร :: 034-723026

ผู้ประสานงานหลัก :: นางสาวเรณู ภู่อาวรณ์

เบอร์ผู้ประสานงานหลัก :: 085-4056114
E-mail:: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

รายชื่อบุคคลากรในองค์กร
นางสาวเรณู ภุ่อาวรณ์ นายกสมาคมพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสมุทรสงคราม

นาย ชัยยันต์ อยู่ศิริ อุปนายก คนที่ 1
นางสาวรมณีย์ เต็มเปี่ยม อุปนายกคนที่ 2
นางสาววันเพ็ญ ทรงแสง ปฎิคม
นาย สุริยงค์ รักจรรยา นายทะเบียน
นางสาวมนัสนันท์ นามอำไพ ประชาสัมพันธ์
นายมงคล จรัญนิฐิชัย กรรมการ
นางสาวอัจฉราภรณ์ ตั้งวิชิตฤกษ์ กรรมการ
นางแก้วตา จิตแก้วผดุง กรรมการ
นางบุญเรือน ราชสิงห์โห เหรัญญิก
นางสาวชุมศรี จูพิบูลย์ เลขานุการ
นางสาวปียาภรณ์ พุ่มพวง ผู้จัดการสมาคมฯ
นางสาวธิดารัตน์ อั้งเจ๋า อาสาสมัคร
นายพงษ์ภัทร หงส์สุขสวัสดิ์ ที่ปรึกษา
นายสุทธิ โทธนะ สมาชิกสมาคม
นางสาวพิสมัย พันธ์ฉาว สมาชิกสมาคม


ผลงานเด่นย้อนหลังในรอบ 10 ปี

1.เฝ้าระวัง แจ้งเบาะแส และรับเรื่องร้องเรียนให้เกิดกลไกการความร่วมมือในการขับเคลื่อนการจัดการผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริงในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม
2.ผลักดันให้เกิดโรงเรียนต้นแบบในการรณรงค์ลดการบริโภคหวาน มัน เค็ม ในเด็กนักเรียนโดยใช้ฉลากโภชนาการแบบสีสัญญาณไฟจราจรในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ทั้งหมด 9 โรงเรียน ได้แก่
+ โรงเรียนถาวรวิทยา
+ โรงเรียนบางนางลี่
+ โรงเรียนเทศบาลวัดใหญ่
+ โรงเรียนวัดช่องลมวรรณาราม
+ โรงเรียนวัดช่องลมธรรมโชติ
+ โรงเรียนอนุบาลวัดเกาะใหญ่
+ โรงเรียนวัดตรีจินดา
+ โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย
+ และโรงเรียนวัดคู้สนามจันทร์
3. ผลักให้มีการเรียนการสอนของวิชาบริโภคศึกษาในโรงเรียนต้นแบบ ได้แก่ โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย
4.ผลักดันให้เกิดกลไกความร่วมมือในการจัดการรถโดยสารสาธารณะและรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัยในระดับจังหวัด 1 ชุด ภายใต้ชื่อ “คณะกรรมการในการขับเคลื่อนรถโดยสารสาธารณะและรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัยจังหวัดสมุทรสงคราม” 1 ชุด โดยมี หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานขนส่งจังหวัดสมุทรสงคราม สำนักงานป้องกันและสาธารณภัยจังหวัดสมุทรสงคราม ผู้ประกอบการรถรับ-ส่งนักเรียน และรถโดยสารสาธารณะ
5.ลงพื้นที่รับเรื่องร้องเรียนเรื่องผลกระทบด้านสุขภาพของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์สามารถช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนกรณีข้อพิพาทเรื่องการตั้งเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ในชุมชนได้จำนวน 9 เรื่อง โดยมีรายละเอียดการยุติข้อพิพาทดังนี้
 กรณีเสา AIS ตั้งอยู่ ต.นางตะเคียน อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม
 กรณีเสา True ตั้งในชุมชนเอกชัย อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม
 กรณีเสา DTAC ตั้งในชุมชนตลาดแม่กลอง อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม
 กรณีเสา DTAC ตั้งในชุมชน ต.บางแก้ว อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม
 กรณีเสา DTAC ตั้งในชุมชนวัดดาวโด่ง อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม
 กรณีเสา DTAC ตั้งในชุมชนตลาดแม่กลอง อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม
 กรณีเสา DTAC ตั้งในชุมชน ตำบลบางพรม อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม
 กรณีเสา True และ AIS ตั้งใกล้บ้านผู้ร้องเรียนจำนวน 3 ต้น ในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี สามารถถอนออกได้ 2 ต้น บริเวณข้างบ้านและหลังบ้าน
 กรณีเสา AIS ตั้งในโรงเรียนเด็กพิเศษชุมชนวัดบางกะพ้อม อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ลงประชามติแล้วเสียงส่วนใหญ่ให้เสาตั้งในบริเวณดังกล่าวได้
6.สมาคมพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสมุทรสงครามได้รับเรื่องร้องเรียนนมบูด ลงพื้นที่เจรจาไกล่เกลี่ยกรณีซื้อนมแจกในงานศพทั้งที่ยังไม่หมดอายุแต่พบว่าบูด ซึ่งสามารถช่วยให้เคสได้รับการชดเชยความเสียหาย 20,000 บาท พร้อมได้รับนมใหม่ ทั้งนี้บริษัทแลคตาซอยได้มีการเรียกเก็บนมล๊อตนั้นคือทั่วประเทศ พร้อมรับปากตรวจสอบระบบการผลิตนมให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยทำงานร่วมกันกับสมาคมผู้บริโภคภาคตะวันตก
7.รับเรื่องร้องเรียนของผู้เสียหายจากการรักษาพยาบาลโดยเรื่องนี้นำไปสู่คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขระดับชาติ โดยร่วมมือกันกับสมาคมผู้บริโภคภาคตะวันตก โดยนำข้อมูลเรื่องร้องเรียน ม.41 ตาม พ.ร.บ.หลักประสุขภาพแห่งชาติ เกี่ยวกับผลกระทบจากการใช้ยาคลอโรควีนแล้วตาบอด เข้าสู่อนุกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขระดับเขตพื้นที่ (อคม.) จนทำให้อนุกรรมการ อคม. เขต 5 ราชบุรี มีหนังสือเวียนแจ้งหน่วยบริการในพื้นที่เขต 5 ราชบุรี ให้มีการเฝ้าระวังและให้ข้อมูลผู้ใช้บริการที่รับยาคลอโรควีนเป็นพิเศษ รวมทั้งนำข้อมูลเข้าสู่คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขระดับชาติ จนทำให้มีหนังสือแจ้งให้หน่วยบริการในทุกจังหวัดมีการเฝ้าระวังและให้ข้อมูลผู้ใช้บริการที่รับยาคลอโรควีนอย่างใกล้ชิดและให้มีการตรวจตาและติดตามอาการผู้ใช้บริการที่ใช้ยาทุก 6 เดือน
8.เกิดนวัตกรรมในการรณรงค์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของเด็กนักเรียนในโรงเรียนให้ลดการบริโภคหวาน มัน และเค็ม ลงอย่างมีส่วนร่วม
9.ด้านอื่นๆอีกมากมาย