ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดสมุทรสงคราม
วัตถุประสงค์
1. ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น
2.เผยแพร่ข้อมูล สร้างความเข้าใจในระบบหลักประกันสุขภาพ
สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ
3.สนับสนุนการมีส่วนร่วมและเชื่อมร้อยเครือข่าย 9 ด้านในพื้นที่
4.การรับเรื่องร้องเรียนให้คำปรึกษา
ที่อยู่สำนักงาน :: 2/71 ชั้นที่ 2 หมู่ที่ 2 ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม 75000
เบอร์ติดต่อองค์กร :: 034-723026
ผู้ประสานงานหลัก :: นางสาวปียาภรณ์ พุ่มพวง
เบอร์ผู้ประสานงานหลัก :: 099-2175402
E-mail:: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
รายชื่อบุคคลากรในองค์กร
1. นางสาวเรณู ภู่อาวรณ์ ผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดสมุทรสงคราม
2. นางสาวรมณีย์ เต็มเปี่ยม ผู้ประสานงานอำเภอเมือง
3. นางสาวชุมศรี จูพิบูลย์ ผู้ประสานงานอำเภออัมพวา
4. นางบุญเรือน ราชสิงโห ผู้ประสานงานอำเภอบางคนที
5. นางสาววันเพ็ญ ทรงแสง คณะทำงานอำเภอบางคนที
6. นางสาวพิศมัย พันธ์ฉาว คณะทำงานอำเภออัมพวา
7. นางสาวมนัสนันท์ นามอำไพ คณะทำงานอำเภอเมือง
8. นายสุทธิ โทธนะ คณะทำงานอำเภออัมพวา
9. นางชไมพร ขุนแผน คณะทำงานอำเภออัมพวา
10. นางสาวอัจฉราภรณ์ ตั้งวิชิตฤกษ์ คณะทำงานอำเภอเมือง
11 นางสาวปียาภรณ์ พุ่มพวง เจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานงาน ฯ
12. นางสาวธิดารัตน์ อั้งเจ๋า เจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานงาน
ผลงานเด่นย้อนหลังในรอบ 10 ปี
กิจกรรมที่ทางศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพ
ประชาชนจังหวัดสมุทรสงคราม ได้ดำเนินการร่วมกับทางสมาคมพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสมุทรสงคราม คือ เป็นกลไกกลางในระดับเขตของภาคประชาชนร่วมกับ สปสช. เขต ๕ ราชบุรี ที่ผลักดันให้กลุ่ม ชมรม หรือ เครือข่ายต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ได้ดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนในพื้นที่ในลักษณะชุมชนจัดการตนเอง เริ่มจากการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพในชุมชน ออกแบบกิจกรรม จัดทำเป็นแผนสุขภาพชุมชน และเชื่อมร้อยการดำเนินงานร่วมกับกองทุนสร้างเสริมสุขภาพระดับตำบล เช่น ชุมชนตำบลบางพรม อำเภอบางคนที ชุมชนตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา และชุมชนตำบลบ้านปรก รวมทั้งกิจกรรมส่งเสริมการดูแลสุขภาพในผู้ป่วยโรคเรื้อรังภายใต้ชื่อโครงการคนสู้โรคจังหวัดสมุทรสงคราม
นอกจากนี้สนับสนุนและยกระดับปัญหาผู้บริโภคจากเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการสาธารณสุข
จนทำให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนามาตรฐานการบริการสาธารณสุขในเชิงระบบในระดับนโยบายทั้งในระดับเขตและระดับชาติ เช่น การจ่ายยา Chloroquine เพื่อรักษาผู้ป่วยโรครูมาตอยด์แล้วได้รับผลกระทบทำตาบอด ได้มีการผลักดันในอนุกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานระดับเขตพื้นที่ จนอนุกรรมการฯ มีมติให้หน่วยบริการมีการเฝ้าระวังผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด จัดทำคู่มือแนวปฏิบัติการใช้ยาให้ผู้ป่วย และมีการแจ้งข้อมูลให้ผู้ป่วยได้รับทราบผลกระทบจากการใช้ยาดังกล่าวทุกครั้งที่มีการจ่ายยา Chloroquine และในระดับชาติได้มีการนำประเด็นดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขของ สปสช. เพื่อให้มีมาตรการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในเชิงระบบในระดับประเทศ จนคณะกรรมการฯ มีมติแนวทางการแก้ไขปัญหาในเบื้องให้มีการแจ้งเตือนไปยังหน่วยบริการทั่วประเทศให้ระมัดระวังการใช้ยาคลอโรควีนในการรักษาโรครูมาตอย และให้ สปสช. ทำการศึกษาเพิ่มเติมว่าจะมีแนวทางการรักษาโรครูมาตอยด์โดยให้มีการใช้ยานี้หรือหายาตัวใหม่ที่แพงกว่าในการรักษาและปลอดภัยแทน
ด้านบริการสาธารณะ ตัวอย่างกิจกรรมที่ทางศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดสมุทรสงคราม ได้ดำเนินการร่วมกับทางสมาคมพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสมุทรสงคราม คือ การจัดกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง ผู้บริโภค ผู้ประกอบการรถตู้โดยสารสาธารณะ สสจ. และ สำนักงานขนส่ง เพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบมาตรฐานการให้บริการรถตู้โดยสารสาธารณะที่ปลอดภัยในพื้นที่ภาคตะวันตก มีผลักดันให้เกิดกลไกคณะทำงานความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั้งในระดับภาครัฐและเอกชน เช่นผู้ประกอบการรถตู้โดยสารในจังหวัดสมุทรสงคราม สำนักงานขนส่ง บขส. ปภ.จังหวัด หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน ตำรวจ ทหาร หน่วยกู้ชีพ/กู้ภัย และการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังรถตู้โดยสารสาธารณะปลอดภัยในภาคตะวันตกเพื่อคอยสอดส่องความปลอดภัยในการใช้บริการรถตู้โดยสารสาธารณะในพื้นที่
ด้านสื่อและโทรคมนาคม ตัวอย่างกิจกรรมที่ทางศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดสมุทรสงคราม ได้ดำเนินการร่วมกับทางสมาคมพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสมุทรสงคราม คือ การพัฒนาศักยภาพศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคระดับจังหวัด ด้านการรับและแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน และการส่งเสริมผลักดันให้เกิดกลไกความร่วมมือในการจัดการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริงผ่านสื่อวิทยุธุรกิจชุมชน นอกจากนี้การให้ความรู้และข้อมูลผลกระทบด้านสุขภาพจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากการตั้งเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้กับชุมชนที่เกิดข้อพิพาท เพื่อให้ชุมชนได้รับข้อมูลที่รอบด้านในการตัดสินใจ
ด้านการเงินการธนาคาร ตัวอย่างกิจกรรมที่ทางศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดสมุทรสงคราม ได้ดำเนินการร่วมกับทางสมาคมพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสมุทรสงคราม คือ ด้านการรับและแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน และส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มผู้เสียหาย
ด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตัวอย่างกิจกรรมที่ทางศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดสมุทรสงคราม ได้ดำเนินการร่วมกับทางสมาคมพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสมุทรสงคราม คือ การพัฒนาศักยภาพศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคระดับจังหวัด ด้านการรับและแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน และการส่งเสริมให้นักเรียนในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงครามอ่านฉลากโภชนาการแบบสีสัญญาณไฟจราจรนำไปสู่การบริโภคขนมขบเคี้ยวที่ปลอดภัยมากขึ้น
ด้านสินค้าและบริการทั่วไป ตัวอย่างกิจกรรมที่ทางศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดสมุทรสงคราม ได้ดำเนินการร่วมกับทางสมาคมพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสมุทรสงคราม คือ การพัฒนาศักยภาพศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคระดับจังหวัดด้านการรับและแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน และส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มผู้เสียหาย
ปี พ.ศ. 2551 ถึงปัจจุบันองค์กรได้สนับสนุนให้เครือข่ายเยาวชนหลักประกันสุขภาพจังหวัดสมุทรสงคราม จัดกิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้เรื่องสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแก่กลุ่มเยาวชน เพื่อให้เยาวชนมีทักษะสามารถที่จะปกป้องสิทธิของตัวเองและคนรอบข้าง
ก.) ผลักดันให้เยาวชนในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม มีส่วนร่วมในการเข้าไปเป็นคณะทำงานหลักประกันสุขภาพจังหวัดสมุทรสงคราม
ข.) เชื่อมร้อยกลุ่มเยาวชนในพื้นที่ เพื่อวางแผนการขับเคลื่อนงานด้านหลักประกันสุขภาพของเยาวชนในจังหวัดสมุทรสงคราม ในการรักษาสุขภาพป้องกันโรคและดำเนินงานกิจกรรมการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับการดูแลตัวเองไม่ให้เกิดความเสี่ยงต่อโรค