ประเด็นสำคัญที่ไทยต้องตัดสินใจเชิงนโยบายเพื่อรองรับการเข้าร่วมความตกลงCPTPP
เพจ FTA Watch เปิดเผย 50 ประเด็นสำคัญที่ไทยต้องตัดสินใจเชิงนโยบายเพื่อรองรับการเข้าร่วมความตกลงCPTPP
#ด้านการเปิดตลาดและมาตรการทางการค้า
(หน่วยงานที่หยิบยกประเด็น กรมศุลกากร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงสาธารณสุข กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)
1.ให้ยกเลิกภาษีสินค้า (เป็นร้อยละ 0) จำนวนกว่าร้อยละ 99 ของรายการทั้งหมด โดยมีระยะเวลาปรับตัว
2.ห้ามสร้างเงื่อนไขในการยกเว้นอากร ทั้งนี้เงื่อนไขที่ห้ามเป็นเรื่องที่เข้าข่าย
2.1.เป็นการสนับสนุนการใช้วัตถุดิบภายในประเทศมากกว่าวัตถุดิบนำเข้า
2.2.เป็นการอุดหนุนการส่งออก และอาจรวมถึงห้ามยกเว้ยอากรให้กับวินค้าที่นำเข้ามาในประเทศจากเขต Free Zone หากผูกโยงกับเงื่อนไขสัดส่วนการผลิตในไทย/อาเซียน
3.ให้เว้นอากรสินค้าที่ไม่ได้ถิ่นกำเนิดสินค้า ดังนี้
- สินค้าที่นำออกไปซ่อม/แปลงสภาพแล้วนำกลับเข้ามาใหม่
- สินค้าตัวอย่างและสื่อสิ่งพิมพ์โฆษณา
- สินค้าที่นำเข้ามาใช้ชั่วคราว อาทิ สินค้าจัดแสดงอุปกรณ์ถ่ายทำภาพยนตร์ และกีฬา
4.ให้ยกเว้นอากรสำหรับสินค้าขาออก
5. ฝห้ามจำกัดการนำเข้า-ส่งออกสินค้าที่ปรับสภาพเป็นของใหม่ (Remanufactured goods)
6.ให้ยกเลิกการใช้มาตรการปกป้องสินค้าเกษตร (Agricultural safeguard) (แต่ยังใช้สำหรับสินค้าอื่นได้
#ด้านกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าและพิธีการศุลกากร
(หน่วยงานที่หยิบยกประเด็น กรมศุลกากร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)
7.ปรับแนวปฏิบัติในการกำหนดถิ่นกำเนิดสินค้าให้สอดคล้องกับ CPTPP เช่น การคำนวณการสะสมถิ่นกำเนิดสินค้า และการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตัวเอง
8.ห้ามไม่ให้เงินค่าสินบนที่เป็นการคำนวณจากค่าปรับและค่าอากรที่จัดเก็บ
#ด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS)
(หน่วยงานที่หยิบยกประเด็น สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ)
9.ต้องใช้มาตรการ SPS ที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล หรืออยู่บนหลักการประเมินความเสี่ยงที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
10.ยอมรับข้อกำหนดที่เพิ่มขึ้นจากข้อตกลง SPS ของ WTO อาทิ ต้องเปิดรับฟังข้อคิดเห็นอย่างน้อย 60 วัน และต้องชี้แจงเหตุผลหากมาตรการฉบับสมบูรณ์ที่บังคับใช้แตกต่างจากร่างมาตรการที่เสนอ
11.ยอมรับแนวทางตรวจประเมินเชิงระบบ และให้ประเทศที่เดินทางไปตรวจประเมิน (ประเทศผู้นำเข้า) จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายการประเมิน
12.ให้ใช้กระบวนการระงับข้อพิพาทใร CPTPP ในการบังคับใช้มาตรการ SPS ในประเด็นเกี่ยวกับการจัดทำความเท่าเทียมกัน การตรวจประเมิน การตรวจสอบการนำเข้า และการประเมินความเสี่ยง
#ด้านอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า
(หน่วยงานที่หยิบยกประเด็น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการ กสทช.)
13.ห้ามกำหนดข้อห้ามเกี่ยวกับฉลากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินกว่าที่ CPTPP กำหนด โดยเฉพาะถ้อยคำคุณลักษณะ อาทิ fine, noble, special reserve, superior, vintage
14.ห้ามกำหนดเงื่อนไขว่า ยาที่จะขึ้นทะเบียนในประเทศ ต้องขึ้นทะเบียนในประเทศผู้ผลิตแล้ว
15.ให้ปฏิบัติต่อหน่วยงานผู้ตรวจสอบรับรอง (Conformity Assessment Bodies – CABs) ที่อยู่ในอีกภาคีเท่าเทียมกับที่ปฏิบัติต่อ CABs ในประเทศ
16.ให้เวลา 60 วันแก่ภาคอื่นหรือผู้สนใจให้ข้อคิดเห็นเป็นลายลักษณ์อักษาต่อประกาศที่เป็นอุปสรรคทางเทคนิดต่อการค้าและให้ขยายเวลาการให้ข้อคิดเห็นตามความเหมาะสมหากมีการร้องขอ
17.ให้มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือนก่อนให้กฎระเบียบทางเทคนิคมีผลบังคับใช้
18.ให้มีการยอมรับตนเองด้านมาตรฐานสินค้า (supplier’s declaration of conformity) สำหรับมาตรฐานเทคนิคด้านความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้าของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ
19.ห้ามกำหนดให้มีการระบุเลขที่จดแจ้งบนฉลากเครื่องสำอาง
#ด้านการลงทุนการค้าและพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์
(หน่วยงานที่หยิบยกประเด็น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการ กสทช. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)
20.ให้ความคุ้มครองการลงทุนตั้งแต่ก่อนการประกอบกิจการ (pre-establishment) การลงทุนใน portfolio และการลงทุนที่มิได้รับอนุมัติการคุ้มครองเป็นลายลักษณ์อักษร
21.ห้ามกำหนดเงื่อนไขด้านสัญชาติของผู้บริหารอาวุโสและคณะกรรมการบริหาร
22.ให้มีการกำกับดูแลอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระหว่างประเทศ (International Moblie Roaming – IMR)
23.ให้มีการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์ประจำที่ (Fixed Number Portability)
24.ให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมต่างๆ สามารถเข้าถึงสถานีเคเบิลใต้น้ำได้
25.ให้ enterprises และ/หรือ ผู้ให้บริการ cable or broadcast สามารถเข้าใช้โครงข่ายโทรคมนาคม และให้มีการกำหนดค่าตอบแทนการใช้โครงข่ายโทรคมนาคมแบบสะท้อนต้นทุน
26.ยอมรับนิยาม “ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม” ว่ารวมถึงการให้สัมปทาน
27.ให้ภาครัฐยกเว้นการกำกับดูแล (forbearance) ในตลาดที่มีการแข่งขันแล้ว
28.ห้ามเก็บภาษีศุลกากรสำหรับการส่งผ่านทางอิเล็คทรอนิกส์ (electronic transmission) อย่างถาวร
#ด้านการเงิน
(หน่วยงานที่หยิบยกประเด็น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์)
29.ยอมรับคำนิยาม “สถาบันการเงิน” ที่ครอบคลุมถึงธุรกิจในหมวดหลักทรัพย์และประกันภัย
30.ยอมรับการเปิดตลาดบริการทางการเงินโดยไม่จำกัดรูปแบบของนิติบุคคล
31.ให้พิจารณาอนุญาตการขอประกอบธุรกิจให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน แต่หากไม่แล้วเสร็จ ก็จะต้องแจ้งให้ผู้ขออนุญาตทราบ
32.อนุญาตให้ต่างชาติให้บริการทางการเงินในรูปแบบใหม่ (News Financial Sevice) เช่นเดียวกับที่จะพิจารณาให้แก่สถาบันการเงินในประเทศ
33.ให้การปฏิบัติที่เท่าเทียมกันระหว่างสถาบันการเงินในประเทศ และสถาบันการเงินต่างชาติ และห้ามกำหนดสัดส่วนขั้นต่ำด้านสัญชาติของผู้บริหารอาวุโสหรือกรรมการบริการที่เป็นคนไทย
#ด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
(หน่วยงานที่หยิบยกประเด็น กรมบัญชีกลาง กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม)
34.ให้เปิดตลาดจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐให้แก่ประเทศภาคี CPTPP ให้สามารถเข้ามาประมูลแข่งขันได้ หากวงเงินโครงการสูงกว่ามูลค่าที่ขอผูกพันไว้ (threshold)
35.ให้ใช้มาตรการระหว่างประเทศ (International Standard) เป็นพื้นฐานในการกำหนดเงื่อนไขทางเทคนิคของสินค้าและบริการที่จะจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ
36.ห้ามให้แต้มต่อหรือสิทธิพิเศษในการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐแก่ผู้ประกอบการในประเทศเหนือกว่าสมาชิก CPTPP อาทิ การกำหนดให้ใช้บัญชีนวัตกรรมไทย การกำหนดสินค้าไทย และการกำหนดต้องถ่ายทอดเทคโนโลยี ในกรณีที่วงเงินโครงการสูงกว่ามูลค่าที่ขอผูกพันไว้ (threshold) หรือเมื่อพ้นระยะเวลาปรับเวลาที่ขอสงวนไว้ (transition period)
ด้านนโยบายการแข่งขันและรัฐวิสาหกิจ
(หน่วยงานที่หยิบยกประเด็น สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กรมศุลกากร)
37.ให้รัฐวิสาหกิจดำเนินการซื้อขายสินค้า/บริการ โดยเป็นไปตามกลไกตลาดและเชิงพาณิชย์ และปฏิบัติต่อคู่ค้า (enterprise) รายต่างๆหรือสินค้า/บริการของคู่ค้ารายต่างๆ ในการซื้อขานอย่างเท่าเทียมกัน
#ด้านทรัพย์สินทางปัญญา
(หน่วยงานที่หยิบยกประเด็น กรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมวิชาการเกษตร กระทรวงสาธารณสุข
38.การเข้าร่วมภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (UPOV1991)
39.การเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาว่าด้วยการแสดงสางบันทึกเสียงขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO Performance and Phonograms Treaty) และสนธิสัญญาว่าด้วยลิขสิทธิ์ของขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO Copyright treaty)
40.การเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาบูดาเปสต์ (Budapest Treaty)
41.ห้ามกำหนดให้ต้องจดทะเบียนการอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิเครื่องหมายการค้าของตน
42.การให้อำนาจศาลสั่งทำลายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าในคดีแพ่งและการกำหนดค่าเสียหาย
43.ให้สามารถคัดค้านและเพิกถอนการขึ้นทะเบียน GI ได้ หากจะทำให้สับสนกับเครื่องหมายการค้าที่มีอยู่หรือที่อยู่ระหว่างยื่นคำขอโดยสุจริต
44.ให้มีการคุ้มครองข้อมูลผลการทดสอบผลิตภัณฑ์ทางสารเคมีทางการเกษตร
45.ให้มีการเชื่อมระบบสิทธิบัตรและระบบการขึ้นทะเบียนยา (patent linkage)
#ด้านแรงงาน
(หน่วยงานที่หยิบยกประเด็น กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน)
46.ให้สิทธิแรงงานต่างด้าว ข้าราชการ (ยกเว้นทหาร ตำรวจ) และลูกจ้างของส่วนราชการรวมตัวจัดตั้งสหภาพแรงงาน
#ด้านกลไกระงับข้อพิพาท
(หน่วยงานที่หยิบยกประเด็น กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย)
47.ให้กลไกระงับข้อพิพาทครอบคลุมถึง
1.การขอหารือถึงมาตรการที่เสนอแต่ยังมิได้มีผลบังคับใช้ (Proposed Measures) ซึ่งอาจจะขัดกับ CPTPP
2.การฟ้องร้องกรณีที่แม้มาตรการจะไม่ขัด CPTPP แต่อาจกระทบต่อประโยชน์ของภาคีภายใต้ CPTPP (Non-Violation Complaints; NVCs)
#ด้านสาธารณสุข
(หน่วยงานที่หยิบยกประเด็น กระทรวงสาธารณสุข)
48.ห้ามกำหนดให้ต้องมีการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อเป็นเงื่อนไขในการอนุญาตลงทุนและประกอบธุรกิจของประเทศ
49.ห้ามกำหนดให้ต้องมีการจัดตั้งสำนักงานในประเทศสมาชิกในการขายสินค้าและบริการที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพ
50.ให้เปิดเสรีการค้าบริการให้ต่างชาติ ทั้งบริการวิชาชีพ และการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพ ยาสูบ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์