test protect push open

fb icontw icong plus iconyt icon

test protect push open

fb icontw icong plus iconyt icon

คู่มือ คนทำงานรับเรื่องร้องเรียน: แก้ไขปัญหาร้องเรียนอย่างไรให้ได้ผล

consumer guide cover

แนวคิดในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภค

       แนวคิดการทำงานค้มุครองผู้บริโภคของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคมาจากประสบการณ์ทำงานคุ้มครองผู้บริโภคที่ยาวนานกว่า 20 ปี และรวบรวมจากบทเรียนการทำงานขององค์กรผู้บริโภคในต่างประเทศโดยมูลนิธิฯ มีแนวคิดที่สำคัญในการทำงานดังนี้

1.  แนวคิด...ใช้เงินให้คุ้มค่า (Value for Your Money)

       ผู้บริโภคจำนวนมากทั้งในอดีตและปัจจุบัน ยังมีความต้องการ "เหมือนเดิม" คือใช้เงินของตนเองอย่างคุ้มค่าเพื่อให้ได้สินค้าที่ดี ปลอดภัย ราคาไม่แพงเท่าไร โดยไม่ได้สนใจมากนักว่าสินค้านั้นมาจากกระบวนการผลิตแบบใด ใครเป็นผู้ผลิต และมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากน้อยแค่ไหน อย่างไร จึงทำให้การทำงานคุ้มครองผู้บริโภคในปัจจุบันเน้นการดำเนินกิจกรรมและให้ความสำคัญกับการ ตรวจสอบคุณภาพของสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคได้ใช้ อาทิ การทดสอบเครื่องซักผ้า รถยนต์ หรือ อาหารต่างๆ เพื่อจะบอกและให้ข้อมูลกับผู้บริโภคในการเลือกซื้อว่า "สินค้าชนิดใด...ดีกว่าสินค้าชนิดใด หรือราคาถูกกว่าและมีคุณภาพดีกว่า" ซึ่งการทำงานลักษณะเช่นนี้ปรากฏอยู่ในแนวทางการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคของหลายประเทศ เห็นได้ชัดเจนจากนิตยสารคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศต่างๆ เช่น นิตยสาร CONSUMER REPORT ของสหรัฐอเมริกา, นิตยสาร WHICH ของอังกฤษ, นิตยสาร CHOICE ของออสเตรเลีย, นิตยสาร TEST ของอินเดีย หรือนิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ของประเทศไทย

 

2.  แนวคิด...คุ้มค่าเงินและคุ้มค่าคนและสังคม (Value for Money and Also Value for People)

       แนวคิดนี้ต้องการให้ผู้บริโภครวมกลุ่มกัน เพื่อให้การบริโภคร่วมกันกลายเป็น "พลัง" ไปช่วยผลักดันคุณภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมอีกทอดหนึ่ง หรือ "ความรับผิดชอบทางสังคม" นั่งเอง หรือ "พฤติกรรมการซื้อแต่ละครั้ง คือการลงคะแนนให้กับตัวแบบทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งแบบแผนการผลิตสินค้าแบบใดแบบหนึ่ง"

       เช่น หากเราต้องการขนมปังที่ไม่มียากันบูด หรือผักที่ไม่มีสารเคมีตกค้าง ผู้บริโภคต้องหาทางสนับสนุนบริษัทที่ผลิตขนมปังที่ไม่มียากันบูด หรือสนับสนุนเกษตรกรรายย่อยที่ปลูกผักอินทรีย์ให้กับเรา เพราะเราเชื่อว่าการบริโภคของเราสามารถเปลี่ยนแปลงผู้ผลิต เศรษฐกิจ และสังคมได้ หรือแม้แต่เปลี่ยนแปลงโลก

       นอกเหนือจากการคำนึงถึงคุณภาพและประโยชน์ที่จะได้รับจากการบริโภคสินค้านั้น ผู้ซื้อจะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่แวดล้อมการผลิตสินค้านั้นด้วย นั่นคือผู้บริโภคต้องใส่ใจถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสภาพการทำงานในการผลิตสินค้านั้นขึ้นมา ผู้บริโภคมีความเกี่ยวข้องกับเงื่อนไขดังกล่าว ฉะนั้นจึงต้องรับผิดชอบต่อประเด็นเหล่านี้ด้วย" รวมทั้งเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันการปฏิรูปเศรษฐกิจสังคมให้เอื้อต่อประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ หรือบางครั้งก็ร่วมมือกันไม่ซื้อ เช่น การไม่ซื้อสินค้าของบริษัท แอ็บบ็อด (บอยคอต) ที่ดำเนินการถอนทะเบียนยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จำนวน 10 รายการ เพื่อเล่นงานประเทศไทย หลังจากรัฐบาลไทยประกาศนโยบายการบังคับใช้สิทธิ โดยกระทรวงสาธารณสุข

 

3. แนวคิด...บริโภคอย่างยั่งยืน และลดการบริโภค (Sustainable Consumption & Life Style)

       ผู้บริโภคทุกคนเห็นสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง น้ำท่วม อากาศร้อน หรือเย็นผิดปกติ ต้องตระหนักว่าทุกสิ่งที่บริโภคนั้น ล้วนส่งผลกระทบต่อทั้งตนเองและสังคม เพราะกระบวนการผลิตล้วนส่งผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมมากบ้าง น้อยบ้างแตกต่างกันเท่านั้น นั่นคือเหตุผลสำคัญที่ต้องก้าวไปสู่การบริโภคแต่เพียงสิ่งที่สำเป็น

       พระไพศาล วิสาโล กล่าวไว้ว่า "การเป็นผู้บริโภคสีเขียว (Green Consumers) มิใช่ เป็นเพียงมองหาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไว้ใช้สอย แต่ที่สำคัญผู้บริโภคจะต้องประมาณการบริโภคด้วย"

consumer guide cover

แนวคิดในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภค

       แนวคิดการทำงานค้มุครองผู้บริโภคของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคมาจากประสบการณ์ทำงานคุ้มครองผู้บริโภคที่ยาวนานกว่า 20 ปี และรวบรวมจากบทเรียนการทำงานขององค์กรผู้บริโภคในต่างประเทศโดยมูลนิธิฯ มีแนวคิดที่สำคัญในการทำงานดังนี้

1.  แนวคิด...ใช้เงินให้คุ้มค่า (Value for Your Money)

       ผู้บริโภคจำนวนมากทั้งในอดีตและปัจจุบัน ยังมีความต้องการ "เหมือนเดิม" คือใช้เงินของตนเองอย่างคุ้มค่าเพื่อให้ได้สินค้าที่ดี ปลอดภัย ราคาไม่แพงเท่าไร โดยไม่ได้สนใจมากนักว่าสินค้านั้นมาจากกระบวนการผลิตแบบใด ใครเป็นผู้ผลิต และมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากน้อยแค่ไหน อย่างไร จึงทำให้การทำงานคุ้มครองผู้บริโภคในปัจจุบันเน้นการดำเนินกิจกรรมและให้ความสำคัญกับการ ตรวจสอบคุณภาพของสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคได้ใช้ อาทิ การทดสอบเครื่องซักผ้า รถยนต์ หรือ อาหารต่างๆ เพื่อจะบอกและให้ข้อมูลกับผู้บริโภคในการเลือกซื้อว่า "สินค้าชนิดใด...ดีกว่าสินค้าชนิดใด หรือราคาถูกกว่าและมีคุณภาพดีกว่า" ซึ่งการทำงานลักษณะเช่นนี้ปรากฏอยู่ในแนวทางการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคของหลายประเทศ เห็นได้ชัดเจนจากนิตยสารคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศต่างๆ เช่น นิตยสาร CONSUMER REPORT ของสหรัฐอเมริกา, นิตยสาร WHICH ของอังกฤษ, นิตยสาร CHOICE ของออสเตรเลีย, นิตยสาร TEST ของอินเดีย หรือนิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ของประเทศไทย

 

2.  แนวคิด...คุ้มค่าเงินและคุ้มค่าคนและสังคม (Value for Money and Also Value for People)

       แนวคิดนี้ต้องการให้ผู้บริโภครวมกลุ่มกัน เพื่อให้การบริโภคร่วมกันกลายเป็น "พลัง" ไปช่วยผลักดันคุณภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมอีกทอดหนึ่ง หรือ "ความรับผิดชอบทางสังคม" นั่งเอง หรือ "พฤติกรรมการซื้อแต่ละครั้ง คือการลงคะแนนให้กับตัวแบบทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งแบบแผนการผลิตสินค้าแบบใดแบบหนึ่ง"

       เช่น หากเราต้องการขนมปังที่ไม่มียากันบูด หรือผักที่ไม่มีสารเคมีตกค้าง ผู้บริโภคต้องหาทางสนับสนุนบริษัทที่ผลิตขนมปังที่ไม่มียากันบูด หรือสนับสนุนเกษตรกรรายย่อยที่ปลูกผักอินทรีย์ให้กับเรา เพราะเราเชื่อว่าการบริโภคของเราสามารถเปลี่ยนแปลงผู้ผลิต เศรษฐกิจ และสังคมได้ หรือแม้แต่เปลี่ยนแปลงโลก

       นอกเหนือจากการคำนึงถึงคุณภาพและประโยชน์ที่จะได้รับจากการบริโภคสินค้านั้น ผู้ซื้อจะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่แวดล้อมการผลิตสินค้านั้นด้วย นั่นคือผู้บริโภคต้องใส่ใจถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสภาพการทำงานในการผลิตสินค้านั้นขึ้นมา ผู้บริโภคมีความเกี่ยวข้องกับเงื่อนไขดังกล่าว ฉะนั้นจึงต้องรับผิดชอบต่อประเด็นเหล่านี้ด้วย" รวมทั้งเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันการปฏิรูปเศรษฐกิจสังคมให้เอื้อต่อประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ หรือบางครั้งก็ร่วมมือกันไม่ซื้อ เช่น การไม่ซื้อสินค้าของบริษัท แอ็บบ็อด (บอยคอต) ที่ดำเนินการถอนทะเบียนยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จำนวน 10 รายการ เพื่อเล่นงานประเทศไทย หลังจากรัฐบาลไทยประกาศนโยบายการบังคับใช้สิทธิ โดยกระทรวงสาธารณสุข

 

3. แนวคิด...บริโภคอย่างยั่งยืน และลดการบริโภค (Sustainable Consumption & Life Style)

       ผู้บริโภคทุกคนเห็นสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง น้ำท่วม อากาศร้อน หรือเย็นผิดปกติ ต้องตระหนักว่าทุกสิ่งที่บริโภคนั้น ล้วนส่งผลกระทบต่อทั้งตนเองและสังคม เพราะกระบวนการผลิตล้วนส่งผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมมากบ้าง น้อยบ้างแตกต่างกันเท่านั้น นั่นคือเหตุผลสำคัญที่ต้องก้าวไปสู่การบริโภคแต่เพียงสิ่งที่สำเป็น

       พระไพศาล วิสาโล กล่าวไว้ว่า "การเป็นผู้บริโภคสีเขียว (Green Consumers) มิใช่ เป็นเพียงมองหาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไว้ใช้สอย แต่ที่สำคัญผู้บริโภคจะต้องประมาณการบริโภคด้วย"

ผู้บริโภคมีสิทธิอะไรบ้าง

ผู้บริโภคมีสิทธิอะไรบ้าง

 

รัฐธรรมนูญไทย

 

       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ให้ความสำคัญของการคุ้มครองผู้บริโภค โดยบัญญัติถึงสิทธิของผู้บริโภคไว้ในมาตรา 57 ว่า "สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ" และถูกกำหนดเพิ่มเติมในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 

       มาตรา 61 สิทธิของบุคคล ซึ่งเป็นผู้บริโภค ย่อมได้รับการคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง และมีสิทธิร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย รวมทั้งมีสิทธิรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค

       ให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนผู้บริโภคทำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐในการตราและการบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขององค์การอิสระดังกล่าวด้วย

สิทธิผู้บริโภคไทย

• สิทธิผู้บริโภคไทย

       พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 มาตรา 4 ได้บัญญัติสิทธิผู้บริโภคที่จะได้รับการคุ้มครอง 5 ประการ ได้แก่ 

       1.  สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ

       ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการโฆษณา หรือการแสดงฉลากตามความเป็นจริงและปราศจากพิษภัยแก่ผู้
บริโภครวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการ อย่างถูกต้องเพียงพอที่จะไม่หลงผิด
ในการซื้อสินค้าและรับบริการโดยไม่เป็นธรรม

       2.  สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ

       ได้แก่ สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยความสมัครใจของผู้บริโภคและปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม ดังนั้น การ้องทุกข์เมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการซื้อสินค้าหรือบริการ ถือเป็นเรื่องที่ชอบธรรมที่ผู้บริโภคควรกระทำ เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจชดใช้ค่าเสียหาย และเพื่อเป็นการลงโทษหรือปรามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค

       3.  สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ

       ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ ปลอดภัย มีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าและบริการนั้นแล้ว

       4.  สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา

       ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ

       5.  สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย

       ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดเชยความเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ตามข้อ 1, 2, 3 และ 4 ดังกล่าว

สิทธิผู้บริโภคสากล สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค ได้ร่วมมือกันกำหนดสิทธิผู้บริโภคไว้ 8 ประการ

• สิทธิผู้บริโภคสากล สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค ได้ร่วมมือกันกำหนดสิทธิผู้บริโภคไว้ 8 ประการ

       ประการที่ 1  สิทธิที่จะได้รับสินค้าและบริการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต (THE RIGHT TO ACCESS)

       อันได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย การเข้าถึงบริการสุขภาพ การศึกษา

       ประการที่ 2  สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ (THE RIGHT TO SAFETY)

       หมายถึง สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากผลิตภัณฑ์ กรรมวิธีผลิตและบริการที่เป็นอันตรายต่อคุณภาพและชีวิตสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัย ครอบคลุมถึงประโยชน์ในระยะยาวของผู้บริโภคด้วย ไม่ได้หมายเพียงแค่ความต้องการในระยะสั้น

       ประการที่ 3  สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองจากการหลอกลวงของโฆษณา หรือการแจ้งประกาศที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด หรือสิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต่อการตัดสินใจเลือกซื้อ (THE RIGHT TO BE INFOMED)

       หมายถึง สิทธิที่จะได้รับข้อเท็จจริงที่จะเลือกและตัดสินใจ สิทธินี้ครอบคลุมมิให้มีการคดโกง คุ้มครองการโฆษณา ฉลากสินค้า และการกระทำอื่นๆ ที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด ผู้บริโภคจะต้องได้รับข้อมูลเพียงพอที่จะทำให้เขาได้ซื้อสินค้า และบริการอย่างฉลาด และด้วยความรับผิดขอบ

       ประการที่ 4  สิทธิที่จะได้เลือกซื้อสินค้าและบริการในราคายุติธรรม (THE RIGHT TO CHOOSE)

       หมายถึงสิทธิที่จะเลือกสินค้าและบริการได้หลายๆ อย่างในราคาที่แข่งขันกัน และในกรณีที่มีการผูกขาดสินค้าก็จะวางในได้ว่า จะได้รับสินค้าและบริการที่มีคุณภาพเป็นที่พอใจ และในราคายุติธรรม 

       สิทธิที่จะเลือกนี้ มีความหมายด้วยว่า เป็นสิทธิที่จะได้รับสินค้าและบริการในระดับพื้นฐาน ทั้งนี้เพราะว่าสิทธิที่จะเลือกอย่างไม่มียับยั้งของกลุ่มผู้บริโภคส่วนน้อย อาจเป็นสิ่งที่กลุ่มผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยก็ได้

       ประการที่ 5  สิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นในฐานะตัวแทนผู้บริโภคเพื่อให้ได้รับประโยชน์ที่พึงได้ (THE RIGHT TO BE HEARD)

       รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ร่วมกับรัฐบาลในการบริหารจัดการหมายถึงสิทธิที่จะเป็นตัวแทนเพื่อประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับการพิจารณาอย่างเข้าใจในการตั้งกฎเกณฑ์ และดำเนินเกี่ยวกับนโยบาย เศรษฐกิจ หมายรวมถึง สิทธิที่จะได้ร้องเรียนและเป็นตัวแทนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการก่อนที่จะมีการผลิตหรือทำการใดๆ ไม่แต่นโยบายของรัฐ แต่ในทางเศรษฐกิจด้านอื่นๆ ด้วย

       ประการที่ 6  สิทธิที่จะได้รับค่าชดเชย ในกรณีที่ถูกละเมิด หลอกลวงให้ได้รับสินค้าและบริการที่ไม่มีคุณภาพ (THE RIGHT TO REDRESS)

       หมายถึงสิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการตัดสินเรื่องรวมที่ร้องเรียนอย่างถูกต้อง ซึ่งหมายรวมถึงสิทธิที่จะได้รับการชดใช้เมื่อได้รับสินค้าและบริการที่บกพร่อง หรือเสียหาย หรือการช่วยเหลือ หรือการชดใช้อื่นๆ

       ประการที่ 7  สิทธิที่จะได้รับความรู้อันจำเป็นต่อการบริโภคอย่างเท่ากัน (THE RIGHT TO CONSUMER EDUCATION)

       หมายถึงสิทธิที่จะได้รับความรู้และฝึกทักษะให้เป็นผู้บริโภคที่มีความรู้ในเรื่องราวต่างๆ ที่ควรรู้ตลอดชีวิต สิทธินี้หมายรวมถึง สิทธิที่จะได้รับความรู้ที่ควรรู้ ควรมี ที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค

       ประการที่ 8  สิทธิที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี และยังชีพได้อย่างปลอดภัย (THE RIGHT TO HEALTHY ENVIROMENT)

       หมายถึง สิทธิที่จะได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ซึ่งหมายรวมถึงสิทธิที่จะได้รับการป้องกันจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ผู้บริโภคแต่ละคนไม่สามารถควบคุมได้เอง สิทธินี้ต้องยอมรับถึงความต้องการที่จะได้รับการคุ้มครองและปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ตลอดชั่วอายุเราไปจนชั่วอายุลูกหลายอีกด้วย

สิทธิผู้บริโภค ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551

 สิทธิผู้บริโภค ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551

       องค์กรผู้บริโภค เรียกกฎหมายฉบับนี้ว่า กฎหมายช่วยฟ้อง เพราะรับรองสิทธิผู้บริโภคที่สำคัญไว้หลายประการ เช่น

       1.  ไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมศาลในกรณีเรียกค่าเสียหาย หากเป็นคดีผู้บริโภค ยกเว้นเรียกค่าเสียหายเกินควร ซึ่งคดีทั่วไป ผู้ฟ้องคดีจะต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 2.5 ของค่าเสียหายแต่ไม่เกิน 200,000 บาท

       2.  ไม่ต้องมีทนาย ไม่ต้องเขียนคำฟ้อง ฟ้องด้วยวาจาได้ เพราะศาลมีเจ้าพนักงานคดีให้การช่วยเหลือผู้บริโภค

       3.  รวดเร็ว เนื่องจากมีเพียงสองศาล และภายใน 30 วัน จะต้องมีการเรียกคู่กรณีมาเจรจาไกล่เกลี่ย โดยได้มีการจัดตั้งแผนกคุ้มครองผู้บรีโภคในศาลอุทธรณ์เพื่อให้ดำเนินคดีเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคเป็นไป อย่างรวมเร็ว และสามารถดำเนินคดี โดยจะดำเนินการโดยทางโทรสารหรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นก็ได้

       4.  ลดเงื่อนไขในการทำนิติกรรมที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ หากยังไม่ได้มีการทำสัญญาแต่ผู้บริโภคได้วางมัดจำหรือชำระหนี้บางส่วนแล้ว ผู้บริโภคมีอำนาจยังคับผู้ประกอบการให้จัดทำสัญญาหรือชำระหนี้ตามสัญญาได้

       5.  ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการโดยใช้หลักสุจริต

       6.  ผู้บริโภคมีสิทธิร้องขอต่อศาลเรียกพยานหลักฐานจากผู้ประกอบมาสืบได้เอง เนื่องจากโดยทั่วไปผู้บริโภคย่อมมีความยากลำบากในการรวบรวมพยามหลักฐาน ซึ่งแตกต่างจากคดีทั่วไปที่กำหนดให้ผู้ฟ้องเป็นผู้นำสืบพยานหลักฐาน

       7.  ประกาศ โฆษณา คำรับรอง หรือการกระทำใดๆ ที่ ผู้บริโภคเข้าใจว่าเป็นสัญญาให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาและสามารถนำมาใช้ในการสืบพยานได้

       8.  ภาระกิจพิสูนจ์ข้อเท็จจริงในคดีผู้บริโภคเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการ เนื่องจากโดยทั่วไปฝ่ายที่มีภาระหน้าที่ในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงคือฝ่ายที่ฟ้องคดีแต่เนื่องจากการที่จะให้ผู้บริโภคเป็นผู้มีภาระการพิสูจน์ย่อมเป็นไปได้โดยยาก เนื่องจากการผู้บริโภคไม่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการ อันเป็นหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตของผู้ประกอบการ ดังนั้นในคดีผู้บริโภคจึงกำหนดให้ภาระการพิสูจน์ตกเป็นของผู้ประกอบการ

       9.  พิพากษาเชิงลงโทษ ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบการจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากจำนวนค่าเสียหายที่แท้จริงตามที่ศาลเห็นสมควร เมื่อศาลพิพากษาให้ผู้ประกอบการชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้บริโภคอันเนื่องมาจากการกระทำที่มีเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภค หรือจงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหายนอกจากผู้บริโภคจะได้รับชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว

       10. ผลของคำพิพากษาผูกพันบุคคลภายนอก ในคดีผู้บริโภคหากผู้ประกอบการแพ้คดีแล้วและมีการฟ้องผู้ประกอบการเดียวกันในคดีอื่นที่มีข้อเท็จจริงเดียวกัน ผู้ประกอบการอาจจะเป็นผู้แพ้คดีเช่นเดียวกับคำตัดสินในคดีก่อน

สิทธิผู้บริโภค ตามพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551

• สิทธิผู้บริโภค ตามพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551

       1.  ผู้ประกอบการทุกคนต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย โดยไม่คำนึงว่า ความเสียหายนั้นเกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบการหรือไม่

       2.  ผู้เสียหายเพียงพิสูจน์ว่าได้รับความเสียหายจากการใช้และเก็บสินค้าตามปกติธรรมดาเท่านั้น ไม่ต้องพิสูจน์ถึงความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบการหรือพิสูจน์ว่าความเสียหายเกิดจากผู้ประกอบการรายใด

       3.  ภาระการพิสูจน์ถึงความไม่ปลอดภัยของสินค้าให้ตกเป็นของผู้ประกอบการ

       4.  ผู้ประกอบการไม่สามารถนำข้อตกลงที่ยกเว้นมาใช้ได้ หรือจำกัดความรับผิดชอบของผู้ประกอบการที่ได้ทำไว้ล่วงหน้าก่อนเกิดความเสียหายหรือคำประกาศหรือคำแจ้งของผู้ประกอบการเพื่อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดชอบต่อความเสียหายอันเกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยมาใช้ได้

       5.  อายุความสะดุดหยุดลง ถ้ายังมีการเจรจาเกี่ยวกับค่าเสียหาย จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะได้บอกเลิกการเจรจา

       6.  นอกจากค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงแล้ว ศาลยังมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายสำหรับความเสียหายต่อจิตใจอันเนื่องมากจากความเสียหายต่อร่างกาย สุขภาพ หรือบุตรของผู้นั้นมีสิทธิที่จะได้รับค่าเสียหายต่อจิตใจ

ผู้บริโภคเป็นใคร

ผู้บริโภคเป็นใคร

 

       ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 3 ได้ให้ความหมายคำว่า ผู้บริโภค และ ผู้ประกอบธุรกิจ ไว้ว่า

       "ผู้บริโภค" หมายความว่า ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือการชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ และหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ แม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม

       "ผู้ประกอบธุรกิจ" หมายความว่า ผู้ขาย ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายหรือผู้ซื้อเพื่อขายต่อซึ่งสินค้า หรือผู้ให้บริการ และหมายความรวมถึงผู้ประกอบกิจการโฆษณาด้วย

"ร้องทุกข์หนึ่งครั้ง ดีกว่าบ่นพันครั้ง"

"ร้องทุกข์หนึ่งครั้ง ดีกว่าบ่นพันครั้ง"

 

       รู้จักกับผู้บริโภค ว่าทำไมต้องร้องทุกข์!! เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันเกี่ยวกับปัญหาของผู้บริโภค อย่างแรกเลยที่เราต้องรู้กันก่อนว่า คำว่า "บริโภค" คืออะไร ซึ่งในความเข้าใจของคนทั่วไปมักคิดกันว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการกินทั้งหมด แต่จริงๆ แล้วคำว่า บริโภค มีความหมายกว้างกว่านั้นมาก ครอบคลุมถึงทุกสิ่งที่ต้องกิน ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งยังรวมไปถึงเรื่องการใช้สินค้าและบริการด้วย เราจึงเป็นผู้บริโภคกันทุกคน ดังนั้นผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ ทุกประเภทที่ผู้บริโภคได้ซื้อหรือใช้บริการ เป็นสิ่งที่สามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ทั้งหมด หากพบว่าเกิดปัญหาขึ้นหรือไม่เป็นไปตามที่โฆษณาไว้ให้กับผู้บริโภคที่เป็นลูกค้า แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าตนเองมีสิทธิ และใช้สิทธิของตนเองเป็น

       ด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปจากอดีตที่ทำมาหากินได้ด้วยตนเอง กลับกลายมาเป็นการดำรงชีวิตที่ขึ้นอยู่กับระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ ทุกคนต้องจ่ายเงินเพื่อแลกเปลี่ยนกับปัจจัยต่างๆ ซึ่งอยู่ในสภาพที่เรียกว่า สินค้าในตลาดยุคบริโภคนิยม ผู้บริโภคต้องตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบและถูกละเมิดสิทธิหรือถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการและผู้ผลิตสินค้าได้ตลอดเวลา แม้จะมีความระมัดระวังแล้วก็ตาม

       เราคงปฏิเสธฐานะผู้บริโภคของเราไม่ได้ ซึ่งฐานะอันนี้ถูกกำหนดให้มีหน้าที่และสิทธิ ที่พึงรักษาไว้ หากเกิดปัญหาไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการใช้สินค้าและบริการ ซึ่งเมื่อเราถูกละเมิดสิทธิ ย่อมเป็นสิทธิที่พึงมีพึงได้ของเราที่เป็นผู้บริโภค ที่จะต้องได้รับการชดเชยเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น จากการใช้สินค้าและบริการ การใช้สิทธิร้องทุกข์ ร้องเรียน เพื่อแก้ไขปัญหา ต่อผู้ประกอบการหรือต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเป็นสิ่งที่ควรกระทำโดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องอดทนต่อความไม่ปลอดภัย ไม่ยุติธรรม หรือการเอารัดเอาเปรียบที่เกิดขึ้น

       จริงอยู่ที่การร้องทุกข์อาจทำให้หลายคนรู้สึกวุ่นวาย ยุ่งยาก เลยเก็บวิธีการร้องทุกข์ไว้เป็นทางเลือกสุดท้าย แต่ถ้าลองมองกลับอีกมุมหนึ่ง การที่คุณยอมให้ผู้ประกอบการที่ไม่ซื่อตรงเอาเปรียบอยู่เรื่อยๆ เมื่อไรปัญหาจึงจะยุติหรือได้รับการแก้ไข หนำซ้ำยังเป็นเหมือนคนที่รู้ดีอยู่แล้วว่าข้างหน้ามีอันตราย แต่ก็ยังไม่ยอมบอกคนที่เดินตามมาข้างหลังให้ระวัง จนต้องตกเป็นเหยื่อรายต่อไป มันคือการทำบาปชัดๆ

       จริงอยู่ที่คุณอาจรู้สึกว่าเสียงเดียวไม่มีพลัง แต่ถ้าเพิ่มเป็นสอง สาม สิบ ร้อยหรือพันแล้ว พลังของผู้บริโภคจะช่วยขับเคลื่อนให้สังคมผู้บริโภคมุ่งไปในทิศทางที่ถูกต้องได้ในที่สุด การร้องทุกข์จึงมีประโยชน์ดังนี้

    1. เพื่อแก้ไขปัญหาของตัวเองให้ดีขึ้น แม้มิอาจหวังได้ว่าทั้งร้องเปอร์เซ็นต์จะต้องสำเร็จ แต่เราก็มีสิทธิเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ที่จะได้รับการชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น
    2. คนอื่นๆ ผู้บริโภคท่านอื่นๆ ที่ไม่รู้เรื่องรวมมาก่อนจะได้รับประโยชน์จากสัญญาณเตือนภัยที่ส่งมาจากคุณ ถือเป็นแนวทางสำคัญในการป้องกันปัญหาและปิดช่องโหว่ของกฎหมาย
    3. ผู้ประกอบการจะได้มีข้อมูลในการปรับปรุงการผลิตสินค้าและการให้บริการ และบอกถึงความต้องการของผู้บริโภค
    4. หนึ่งเสียงของผู้บริโภคมีค่ามากกว่าศูนย์ อย่าคิดว่าเสียงของเราจะไม่มีค่า
    5. หากมีหลายคนร้องทุกข์เหมือนกัน จะเป็นเครื่องมือในการต่อรองกับผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการ ทำให้ผู้บริโภคเป็นผู้ที่มีพลังที่แท้จริงในการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
    6. เมื่อผู้บริโภคมีพลังย่อมทำให้เกิด นโยบายที่ดี การแก้ไขกฎหมาย หรือมาตรการต่างๆ ที่ออกมาเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคโดยรวมมากขึ้น

ด้านที่อยู่อาศัย

ด้านที่อยู่อาศัย

 

       บ้าน..เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการใช้ชีวิตของคนทุกคน หลายคนคงมีความฝันที่อยากจะมีบ้านเป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเพราะความจำเป็นของครอบครัว หรือการอยากมีบ้านหลังแรกในชีวิต แต่การลงทุนเรื่องที่อยู่อาศัยทุกวันนี้ มีปัจจัยความเสี่ยงหลายอย่าง ทั้งจากตัวผู้ซื้อที่ไม่มีความพร้อมจากสภาพ เศรษฐกิจ และความไม่สนใจในสิทธิผู้บริโภคของผู้ประกอบการ ทำให้การจะได้บ้านสักหลังกลายเป็นเรื่องที่ยากเสียแล้ว แต่การจะมีบ้านในสภาพแวดล้อมที่ดีที่เหมาะสมกลับเป็นเรื่องยากยิ่งกว่า เพราะเราพบว่าปัญหาที่เกิดหลังจากซื้อบ้าน มีอยู่มากมาย ดังนั้นการรู้วิธีแก้ไขปัญหาก่อนที่ปัญหาจะเกิดจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ภาพรวมของปัญหาด้านที่อยู่อาศัย

ภาพรวมของปัญหาด้านที่อยู่อาศัย

       จากการสังเคราะห์ข้อมูลการร้องเรียนของผู้บริโภคต่อศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จากปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย สามารถจัดกลุ่มปัยหาได้ดังนี้

       1.  บ้าน / ที่ดิน / อาคารพาณิชย์

       •  ไม่สร้างบ้านตามสัญญา, ไม่ได้สร้างตามแบบที่ขออนุญาต

       •  ไม่สามารถโอนบ้านได้ตามสัญญา

       •  วัสดุที่นำมาสร้างบ้านไม่มีคุณภาพ

       •  ซื้ออสังหาริมทรัพย์จากการประมูลของธนาคาร แต่ต้องรับภาระฟ้องขับไล่ผู้อยู่อาศัยเดิม

       •  ชำรุดหลังปลูกสร้าง, ผู้รับเหมาทิ้งงาน ก่อสร้างล่าช้า

       •  สัญญาไม่เป็นธรรม เอาเปรียบผู้บริโภค

       2.  อาคารชุด / คอนโดมีเนียม

       •  สร้างไม่เสร็จตามสัญญา

       •  ปัญหาการบริหารจัดการงานของนิติบุคคล ที่ไม่รักษาผลประโยชน์ลูกบ้าน

       •  ไม่โอนตามสัญญา

       •  พื้นที่ไม่ครบตามสัญญา

       •  ไม่คืนเงินมัดจำ

       •  วัสดุไม่มีคุณภาพ ชำรุดหลังรับโอน

       •  สัญญาไม่เป็นธรรม เอาเปรียบผู้บริโภค

       3.  สาธารณูปโภค / พื้นที่ส่วนกลาง (รวมทั้งบ้านและอาคารชุด)

       •  ไม่สร้างสาธารณูปโภคตามสัญญา

       •  ไม่มีพื้นที่ส่วนกลางตามแบบที่ขออนุญาตจัดสรร

       •  ปัญหาการบริหารจัดการงานของนิติบุคคล ที่ไม่รักษาผลประโยชน์ของลูกบ้าน

       •  นำพื้นที่ส่วนกลางไปจำหน่ายให้กับบุคคลหรือหน่วยงานอื่น

       4.  อื่นๆ เช่น การขอคำปรึกษาการฟ้องคดี

ปัญหาสำคัญของผู้บริโภคด้านที่อยู่อาศัย

ปัญหาสำคัญของผู้บริโภคด้านที่อยู่อาศัย

 

       1.  ปัญหาระหว่างการจองหรือก่อนตกลงทำสัญญา ผู้บริโภคขาดข้อมูลการตัดสินใจในการซื้อ หรือละเลยการแสวงหาข้อมูล เรื่องความพร้อมของผู้บริโภคเองและความมั่นคงของผู้ประกอบการในโครงการที่ต้องการซื้อขาย รวมถึงปัญหาของสัญญาจะซื้อจะขายที่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค ส่งผลให้เกิดปัญหาการเสียเงินจองเงินมัดจำแล้วเมื่อเกิดปัญหาก็เรียกคืนไม่ได้

       2.  ปัญหาก่อนการโอนกรรมสิทธิ เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ผู้ซื้อบ้านต้องใช้ความระมัดระวัง มากกว่าก่อนการทำสัญญา เพราะเงินเฉลี่ยประมาณ 10-20% ของราคาขายได้ถูกชำระไปแล้วกับการทำสัญญา หากภายหลังพบว่า บริษัทเอาเปรียบเช่นไม่ก่อสร้างตามกำหนด บ้านไม่เป็นไปตามแบบบ้านตัวอย่าง ฯลฯ ผู้ซื้อบ้านบางรายส่วนใหญ่ก็ไม่กล้าที่จะหยุดผ่อนชำระ เพราะหากไม่ยอมรับโอนกรรมสิทธิตามกำหนดก็จะเป็นผู้ผิดสัญญา และถูกริบเงินดาวน์

       3.  ปัญหาหลังการโอนกรรมสิทธิ ผู้บริโภคจำนวนมากมักเจอปัญหาหลังการโอนกรรมสิทธิแล้ว ไม่ว่าจะพบการชำรุดเสียหาย บ้านจัดสรรปลูกสร้างผิดแบบ การไม่มีสาธารณูปโภคตามสัญญา การบริหารจัดการของนิติบุคคลที่เอารัดเอาเปรียบ ฯลฯ เมื่อผู้บริโภคเรียกร้อง ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการมักเพิกเฉย ทำให้ผู้บริโภคต้องฟ้องคดีต่อศาลเป็นหนทางสุดท้าย เกิดภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ มากมาย

แนวทางการแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัย : ตัวอย่างที่ 1 กรณีซื้อบ้านจัดสรรแล้วไม่มีสาธารณูปโภคตามสัญญา

แนวทางการแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัย

 

•  ตัวอย่างที่ 1  กรณีซื้อบ้านจัดสรรแล้วไม่มีสาธารณูปโภคตามสัญญา

       อภิภพ หนุ่มใหญวัยกลางคน หวังจะซื้อบ้านเพื่อครบอครัว เมื่อมีลูกก็อยากให้ลูกได้วิ่งเล่นในพื้นที่กว้างแทนที่จะอยู่บนคอนโดเหมือนเขา เขาจึงตัดสินใจซื้อบ้านหลังหนึ่งกับโครงการบ้านจัดสรรชื่อดังแถวอ่อนนุช โดยทางโครงการโฆษณาไว้ว่าจะมีคลับเฮ้าส์ สระว่ายน้ำ และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ อีกรวมทั้งมีการรักษาความปลอดภัยที่ดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้คุณอภิภพ ตัดสินใจซื้อบ้านที่นี่ เพราะมีความเชื่อมั่นในภาพลักษณ์ บริษัทการโฆษณาต่างๆ ที่มีให้ก่อนจะซื้อ

       หลังจากอยู่ไปได้สักระยะ อภิภพและครอบครัวก็เฝ้ารอคลับเฮ้าส์ที่โครงการโฆษณาไว้ ว่าจะสร้างเมื่อไรและจะมีหน้าตาอย่างไร แต่เฝ้า รอ รอ และรอ ก็ไม่มีวี่แววว่าจะสร้าง นอกจากคลับเฮ้าส์ที่ยังไม่เริ่มสร้างแล้วสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ที่เคยโฆษณาไว้ก็ไม่มีอีกเช่นกัน เจอปัญหาแบบนี้จะต้องทำอย่างไร

       แนวทางและวิธีการแก้ไข

       1.  ข้อเท็จจริง

            •  กรณีนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับการซื้อบ้านแล้วไม่มีสาธารณูปโภคตามสัญญา

       2.  คู่กรณีที่เกี่ยวข้อง

            •  บริษัทผู้สร้างบ้านจัดสรร

       3.  เอกสารที่เกี่ยวข้อง

            •  สัญญาจะซื้อจะขาย, เอกสารประกอบการขาย, โบรชัวร์, ภาพถ่าย เป็นต้น

       4.  กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

            •  พระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543

            •  พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551

            •  พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522

       5.  ความเสียหาย, มูลค่าความเสียหาย

            •  ตามปกติราคาขายบ้านในโครงการ ผู้ขายย่อมจะรวมมูลค่าของสาธารณูปโภค เช่น สระว่ายน้ำ คลับเฮ้าส์ฯ ไว้แล้ว ดังนั้นเมื่อปรากฏว่า ภายหลังการซื้อบ้านเพราะโครงการสัญญาว่าจะมีสาธารณูปโภค แต่ไม่มีสาธารณูปโภคตามสัญญา ผู้ร้องย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโครงการในส่วนนี้ได้

       6.  กระบวนการและวิธีการแก้ไขปัญหา

            •  ผู้ร้องต้องกลับไปดูสัญญาและเอกสารที่มีทั้งหมดว่ามีข้อความหรือเอกสารที่ระบุว่า จะมีสาธารณูปโภคเหล่านั้นหรือไม่ ถ้ามีเป็นเอกสารหลักฐาน ก็ต้องถือว่าเอกสารหลักฐานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค 2551 ซึ่งหากโครงการไม่ปฏิบัติ ย่อมถือว่าผิดสัญญาผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายกับโครงการได้

            •  หากเป็นโครงการที่มีผู้ได้รับผลกระทบหลายคน ผู้ร้องควรรวมกลุ่มผู้เสียหายและทำหนังสือร้องเรียนถึงผู้ประกอบการ โดยอ้างคำโฆษณาว่าจะให้ของโครงการ เพื่อเรียกร้องให้โครงการปฏิบัติตามสัญญา

            •  หากเรียกร้องแล้วโครงการไม่ดำเนินการ ผู้ร้องก็มีสิทธิฟ้องคดีผู้บริโภคเพื่อเรียกค่าเสียหาย โดยอ้างพยานเอกสารการขายเป็นเอกสารประกอบสัญญาได้ตาม ข้อ 1

หมายเหตุ  เอกสารหลักฐานต่างๆ ที่ทำการซื้อขาย ตั้งแต่ใบโฆษณา โบรชัวร์ แผ่นพับ ต่างๆ ของโครงการที่ทำการขาย เป็นเอกสารสำคัญที่ผู้ซื้อทุกรายต้องเก็บไว้ทั้งหมด เนื่องจากหากไม่เก็บไว้ หรือทิ้งขว้างไป เมื่อเกิดปัญหาเช่นกรณีนี้ เราก็จะไม่มีหลักฐานยืนยันถึงสิ่งที่เขาสัญญาจะให้ ทำให้ไม่มีข้อมูลยืนยันเพื่อให้ผู้ประกอบการรับผิดชอบได้

ตัวอย่างที่ 2 กรณีปัญหาการจ้างเหมารับสร้างบ้าน

•  ตัวอย่างที่ 2  กรณีปัญหาการจ้างเหมารับสร้างบ้าน

       คุณชไมพร พร้อมคุณแม่ได้ไปทำสัญญารับเหมาก่อสร้างบ้านบริษัทรับเหมาแห่งหนึ่ง ให้สร้างบ้านหลังหนึ่งบนที่ดินของตัวเองเนื้อที่ 52 ตารางวาเศษ โดยบริษัทฯ ตกลงจะก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จภายในเวลา 360 วัน คิดค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าแรงรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม เบ็ดเสร็จแล้วอยู่ที่ 5 ล้านบาท

       สองแม่ลูกวางเงินในวันทำสัญญาจำนวน 7 แสนบาท ส่วนที่เหลืออีก 4.3 ล้านบาท สัญญากันว่าจะแบ่งจ่ายเป็นงวดๆ อีก 6 งวด ตามความก้าวหน้าของเนื้องงานก่อสร้าง และหากบริษัทฯ ทำงานไม่เสร็จตามกำหนดโดยที่มิใช่ความบกพร่องของผู้ว่าจ้าง หรือ เหตุสุดวิสัย บริษัทฯ ยินยอมให้ผู้ว่าจ้างปรับได้วันละ 1 พันบาท

       ต่อมาบริษัทฯ เริ่มมีปัญหาผู้รับเหมาทิ้งงาน แต่บริษัทฯ ก็ได้จัดหาผู้รับเหมารายใหม่มาดำเนินการแก้ไขและสร้างบ้านต่อไปได้ ต่อมาคุณชไมพร พบปัญหาการก่อสร้างเกิดขึ้นในหลายจุด ทั้งงานโครงสร้าง งานผนัง งานสี งานไม้ ที่มีรอยแยก รอยแตก รอยปูด รอยบวม เห็นแล้วกลุ้มใจ จึงต้องแจ้งให้บริษัทฯ ทราบ เพื่อให้ผู้รับเหมามาแก้ไข

       ช่วงแรกพอแจ้งไป ก็มีช่างเร่งมาแก้ไขงาน แต่ทำได้สักพัก คราวนี้ช่างหายตัวไปเลย เริ่มไม่มาทำงานหลายครั้งที่ติดต่อไปที่ช่างก็ไม่ยอมรับสาย ติดต่อไม่ได้ ครั้นโทรศัพท์ติดต่อไปที่บริษัทฯ ก็รับปากว่าจะหาช่างมาแก้ไขงานให้เหมือนเดิม

       เจอเหตุการณ์แบบนี้ คุณชไมพร เริ่มถอดใจ จะยอมให้ช่างทำต่อหรือถ้าจะบอกเลิกสัญญาหาช่างใหม่มาทำเองได้ไหม???

       แนวทางและวิธีการแก้ไข

       1.  ข้อเท็จจริง

            •  กรณีนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับการรับเหมาสร้างบ้านแล้วไม่เสร็จตามสัญญา

       2.  คู่กรณี

            •  บริษัทผู้รับเหมาสร้างบ้าน

       3.  เอกสารที่เกี่ยวข้อง

            •  สัญญาว่าจ้างสร้างสิ่งปลูกสร้าง, พิมพ์เขียว, แบบแปลน, ภาพถ่าย เป็นต้น

       4.  กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

            •  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 บัญญัติไว้ว่า “อันว่าจ้างทำของนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น”

            •  พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค 2551

            •  พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค 2522

       5.  ความเสียหาย, มูลค่าความเสียหาย

            •  ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการไม่สามารถสร้างให้เสร็จได้ตามสัญญา รวมถึงความชำรุดเสียหายของการก่อสร้างส่วนที่เสร็จไปแล้วแต่งานไม่มีคุณภาพ

            •  ความเสียหายที่เกิดจากการที่ต้องว่าจ้างช่างใหม่ เพื่อมาดำเนินการแก้ไขงานที่ชำรุดเสียหาย

            •  ความเสียหายที่เกิดจากการต้องมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในระหว่างการก่อสร้างและการแก้ไขงาน

       6.  กระบวนการและวิธีแก้ไขปัญหา

       ο  ถ้าจะยอมให้ช่างทำต่อ ก็ต้องแจ้งถึงบริษัทฯ เป็นหนังสือลายลักษณ์อักษรเพื่อให้บริษัทฯกลับมาแก้ไขงานตามสัญญาให้เสร็จสิ้น โดยส่งแบบไปรษณีย์ลงทะเบียนแนบใบตอบรับ หากบริษัทฯ ไม่มาทำงาน หรือ กลับมาแล้วยังทำเหมือนเดิมอีก ผู้ร้องมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที

            •  หรือหากจะไม่ยอมให้ช่างทำต่อแล้ว ต้องการหาช่างคนใหม่มาทำงานแทน ผู้ร้องต้องมีหนังสือบอกเลิกสัญญาถึงบริษัทฯ ทันที โดยอ้างมูลเหตุแห่งการผิดสัญญาที่ก่อสร้างงานไม่เสร็จ งานล่าช้า โดยส่งแบบไปรษณีย์ลงทะเบียนแนบใบตอบรับ

            •  เนื่องจากสัญญาจ้างทำบ้านอันเป็นสัญญาจ้างทำของ มีวัตถุประสงค์แห่งสัญญาเป็นการชำระหนี้ ณ เวลามีกำหนดแน่นอน และกำหนดเวลาดังกล่าวไว้ล่วงพ้นไปแล้ว โดยผู้รับเหมาก่อสร้างบ้านไม่เสร็จตามสัญญา ท่านมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างทำของนั้นได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 และสามารถเรียกค่าเสียหายจากผู้รับจ้างจากการที่ให้บุคคลภายนอกกระทำการก่อสร้างแทน โดยให้ผู้รับจ้างคนเดิมเสียค่าใช้จ่ายจากการที่ท่านต้องเสียค่าจ้างเพิ่มขึ้นนั้น

            •  แต่หากบริษัทฯ เพิกเฉย ผู้บริโภคมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลเป็นคดีผู้บริโภคได้

ตัวอย่างที่ 3 กรณีสร้างอาคารชุดไม่เสร็จตามสัญญา

•  ตัวอย่างที่ 3 กรณีสร้างอาคารชุดไม่เสร็จตามสัญญา

       คุณนิชา ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดหรูกลางเมืองกรุง โดยทางโครงการระบุในสัญญาว่าจะสร้างแล้วเสร็จพร้อมนัดหมายการตรวจรับโอนกรรมสิทธิ ในวันที่ 30 มิถุนายน 2556 แต่เมื่อถึงกำหนดการส่งมอบ ห้องชุดก็ไม่เสร็จเรียบร้อย เจ้าหน้าที่ของโครงการพยายามรบเร้าให้คุณนิชารับมอบห้องไปก่อน ส่วนของที่ค้างจะทำให้ในภายหลัง พร้อมยื่นข้อเสนอเพิ่มเติม แต่คุณนิชาไม่ยอม ยืนยันว่าต้องเก็บงานห้องให้เรียบร้อยสมบูรณ์ก่อนถึงจะยอมรับมอบห้อง และขอให้โครงการขยายเวลารับมอบห้องชุด เพื่อเก็บรายละเอียดงานที่ยังไม่เรียบร้อยทั้งหมด แต่เมื่อถึงวันนัดหมายห้องก็ยังไม่เสร็จ ต้องทำการแก้ไขอีกหลายรายการ คุณนิชาจึงยังไม่รับมอบห้องชุดดังกล่าว แต่บริษัทอ้างว่า หากคุณนิชาไม่ยอมรับมอบ จะถือว่า ผิดสัญญาจะซื้อจะขายกับบริษัท คุณนิชาจะถูกปรับเงินและถูกบอกเลิกสัญญา เจอไม้นี้เข้าไปคุณนิชาจะทำอย่างไร

       แนวทางและวิธีการแก้ไข

       1.  ข้อเท็จจริง

            •  กรณีนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับการซื้ออาคารชุดแล้วสร้างไม่เสร็จ แต่ถูกให้ต้องรับโอนกรรมสิทธิ

       2.  คู่กรณี

            •  บริษัทผู้สร้างอาคารชุด

       3.  เอกสารที่เกี่ยวข้อง

            •  สัญญาว่าจะซื้อจะขาย, เอกสารประกอบการขาย โบรชัวร์ ต่างๆ เป็นต้น

       4.  กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

            •  พระราชบัญญัติอาคารชุด 2522

            •  พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค 2551

            •  พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค 2522

            •  ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจขายห้องชุดเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2543

            •  ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดแบบสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาซื้อขายห้องชุดตามพระราชบัญญัติอาคารชุด 2522

       5.  ความเสียหาย, มูลค่าความเสียหาย

            •  ความเสียหายเกิดขึ้นจากการที่ผู้บริโภคต้องจ่ายเงินไปแล้ว แต่บริษัทไม่สามารถสร้างให้เสร็จได้ตามสัญญา

            •  ความเสียหายที่เกิดจากการต้องมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในระหว่างการก่อสร้างและการแก้ไขงาน เช่น หากต้องเช่าหอพักอยู่ ก็ต้องคิดค่าเช่า เป็นต้น

       6.  กระบวนการและวิธีการแก้ไขปัญหา

            •  หากพบจุดที่บกพร่องเสียหาย ต้องบันทึกจุดความเสียหายนั้นไว้เป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมถ่ายภาพเก็บไว้ด้วย (ภาพถ่ายควรระบุวันเวลาที่ถ่ายไว้ด้วย) โดยส่งบันทึกความเสียหายพร้อมหนังสือขอให้ดำเนินการแก้ไขถึงผู้ประกอบการเป็นจดหมายแบบลงทะเบียนแนบไปรษณีย์ตอบรับเพื่อเป็นหลักฐาน

            •  หากโดนตื้อ เสนอของแถม เพื่อให้รับโอนกรรมสิทธิไปก่อน เรื่องอื่นไว้ทีหลัง ให้พึงนึกเสมอว่า “ของดีไม่ต้องมีโปรโมชั่น และถ้าจริงใจ จะยอมลดกำไร เพื่อเร่งโอนทำไม”

            •  ต้องหนักแน่น หากห้องชุดที่ซื้อยังไม่พร้อมจะเข้าอยู่ได้ โดยต้องยืนยันให้โครงการแก้ไขให้เรียบร้อยถึงจะยอมรับโอนกรรมสิทธิห้องชุด

            •  แต่หากทำทุกอย่างแล้ว ผู้ประกอบการก็ยังไม่ยอมรับผิดชอบ ผู้บริโภคมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและมีสิทธิเรียกเงินที่ผู้บริโภคได้ชำระไปแล้วทั้งหมดคืนจากผู้ประกอบธุรกิจพร้อมดอกเบี้ย ในอัตราเดียวกันกับเบี้ยปรับ ที่ผู้ประกอบธุรกิจกำหนดสำหรับกรณีผู้บริโภคผิดนัดชำระหนี้ แต่ทั้งนี้ ไม่เป็นการตัดสิทธิผู้บริโภคที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายอย่างอื่น

            •  แต่หากบริษัทเพิกเฉย ผู้บริโภคมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลเป็นคดีผู้บริโภคได้

ตัวอย่างที่ 4 กรณีบอกเลิกสัญญาเช่าหอพักและขอเงินมัดจำคืน

•  ตัวอย่างที่ 4  กรณีบอกเลิกสัญญาเช่าหอพักและขอเงินมัดจำคืน

       คุณปรารถนา ทำสัญญาห้องเช่ากับหอพักแห่งหนึ่ง โดยสัญญามีสาระสำคัญระบุว่า สัญญาระบุว่าห้องเช่าและค่าเฟอร์นิเจอร์ราคา 3,900 บาทต่อเดือน เก็บค่าประกันเฟอร์นิเจอร์ 5,000 บาท กำหนดพักอาศัยไม่ต่ำกว่า 6 เดือน นับแต่วันที่เช่า หากผู้เช่าอยู่ไม่ครบกำหนดสัญญา จะไม่คืนเงินค่าประกัน และหากจะย้ายออกต้องบอกล่วงหน้า 30 วัน

       ในระหว่างที่เช่าอยู่ได้ 3 เดือนนั้น ปรารถนาพบความไม่สะดวกหลายอย่างในการเข้าพัก เช่น เสียงดังจากถนนใหญ่ การเก็บค่าไฟฟ้าที่มากเกินไป ร้านซักรีดเสื้อผ้าไม่เรียบร้อย เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญเสียบ่อย ฯลฯ อีกทั้งใบเสร็จรับเงินก็ไม่มี เมื่อไปขอก็บ่ายเบี่ยงไม่อยากให้ ต้องตื้อเพื่อขอใบเสร็จ ก้ได้เป็นใบเสร็จรับเงินที่ไม่มีรายละเอียดใดๆ

       ปรารถนาจึงขอย้ายออกจากหอพักนี้ แต่เจ้าของพักไม่คืนเงินประกัน โดยอ้างว่าปรารถนาอยู่ไม่ครบตามสัญญา และห้องมีความชำรุดเสียหายหลายจุด จึงไม่คืนเงิน ปรารถนาจะทำอย่างไร

       แนวทางและวิธีการแก้ไข

       1.  ข้อเท็จจริง

            •  กรณีนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับการบอกเลิกสัญญา และย้ายออกจากหอพัก

       2.  คู่กรณี

            •  ผู้ประกอบการธุรกิจหอพัก

       3.  เอกสารที่เกี่ยวข้อง

            •  สัญญาเช่า, ระเบียบหรือข้อบังคับการอยู่หอพัก, ใบเสร็จค่าน้ำ ค่าไฟ เป็นต้น

       4.  กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

            •  พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค 2551

            •  พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค 2522

            •  ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจการให้เช่าที่อยู่อาศัยที่เรียกเงินประกันเป็นธุรกิจควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. 2549

       5.  ความเสียหาย, มูลค่าความเสียหาย

            •  ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้บริโภคต้องจ่ายเงินค่ามัดจำล่วงหน้าไปแล้ว แต่เมื่อบอกเลิกสัญญากลับไม่ได้เงินคืน

       6.  กระบวนการและวิธีการแก้ไขปัญหา

            •  กรณีเงินประกันล่วงหน้า ผู้บริโภคสามารถทำหนังสือขอให้ผู้ประกอบการคืนเงินได้ โดยอ้างอิงประกาศ ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจการให้เช่าที่อยู่อาศัยที่เรียกเงินประกันเป็นธุรกิจควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. 2549 กำหนดให้ผู้เช่ามีสิทธิได้รับเงินประกันคืนทันทีเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาเช่าที่อยู่อาศัยหรือเมื่อสัญญาเช่าเลิกกัน เว้นแต่กรณีผู้ให้เช่าประสงค์จะตรวจสอบความเสียหายที่ผู้เช่าต้องรับผิดชอบ หากผู้เช่าไม่ได้ทำความเสียหาย ผู้เช่ามีสิทธิได้รับคืนเงินประกันภัยภายใน 7 วัน โดยให้ผู้ให้เช่ารับภาระค่าใช้จ่ายในการนำส่งคืนเงินประกันตามวิธีการที่ผู้เช่าแจ้งให้ทราบ

            •  หากหอพักหรือห้องเช่าที่มีการเรียกเก็บเงินประกันแต่ไม่มีใบเสร็จรับเงินหรือไม่มีรายละเอียดข้อความที่เป็นสาระสำคัญ ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจการให้เช่าที่อยู่อาศัยที่เรียกเงินประกันเป็นธุรกิจควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. 2549 นั้น ผู้บริโภคสามารถแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ให้เช่าได้ทันที ฐานความผิดคือ มีใบเสร็จรับเงินที่ไม่มีรายการตามที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคกำหนด มีความผิดตามมาตรา 57 ของ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ตัวอย่างที่ 5 กรณีถูกบอกเลิกสัญญาที่ไม่เป็นธรรม (บ้านเอื้ออาทร)

•  ตัวอย่างที่ 5  กรณีถูกบอกเลิกสัญญาที่ไม่เป็นธรรม (บ้านเอื้ออาทร)

       ฉัตรสุรางค์ ตัดสินใจเข้าทำสัญญาซื้อบ้านเดี่ยว 2 ชั้น โครงการเอื้ออาทรจังหวัดบุรีรัมย์ กับการเคหะแห่งชาติ ในราคา 390,000 บาท โดยมีเงื่อนไขในสัญญาว่า เมื่อทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านเอื้ออาทรและจ่ายเงินมัดจำกับการเคหะแห่งชาติตามสัญญาแล้ว การเคหะแห่งชาติจะจัดหาสถาบันการเงินเพื่อให้ผู้ซื้อทำสัญญากู้ยืมเงินขอสินเชื่อ เพื่อนำเงินกู้มาชำระราคาบ้านส่วนที่เหลือทั้งหมดให้กับการเคหะแห่งชาติตามสัญญา และเพื่อให้มีหลักประกันระหว่างการทำสัญญานั้น การเคหะแห่งชาติจะเป็นผู้ค้ำประกันให้กับผู้ซื้อในการกู้ยืมเงินกับธนาคารอีกด้วย

       ภายหลังทำสัญญา ผ่อนมาปีกว่า ฉัตรสุรางค์ เริ่มผิดนัดบางงวด แต่เธอก็พยายามเก็บเงิน เพื่อไปชำระยอดที่ค้างชำระกับธนาคาร โดยที่ธนาคารยังคงรับชำระเงินของผู้ร้องไว้ตามปกติเรื่อยมา

       จนเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2554 เมื่อเธอไปจ่ายค่างวดที่ธนาคารตามปกติ ธนาคารปฏิเสธรับเงินจากเธอและแจ้งให้เธอทราบว่า บ้านที่เช่าซื้ออยู่ได้ถูกบอกเลิกสัญญา เพราะผิดนัดค้างชำระเกินกำหนด และการเคหะแห่งชาติได้มาซื้อคืนไปแล้ว โดยที่เธอไม่เคยได้รับหนังสือแจ้งเตือน หรือหนังสือบอกเลิกสัญญาใดๆ มาก่อนเลย

       ฉัตรสุรางค์ พยายามติดต่อไปที่การเคหะฯ เพื่อขอคำชี้แจง และขอกลับเข้าไปทำสัญญาเดิมใหม่ แต่ก็ได้รับคำตอบว่า ยังไงก็ทำไม่ได้ เพราะเธอผิดสัญญา และถูกบอกเลิกสัญญาไปแล้ว หากอยากจะทำสัญญาต่อ ต้องทำสัญญาใหม่ มีค่าปรับ ค่าผิดนัด ค่าปลด black list ค่าดอกเบี้ย รวมถึงสัญญาที่ทำต้องเป็นสัญญาราคาใหม่ที่แพงกว่าเดิมอีกแสนกว่าบาท ฉัตรสุรางค์ จะทำอย่างไร ??

       แนวทางและวิธีการแก้ไข

       1.  ข้อเท็จจริง

            •  กรณีนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับการถูกบอกเลิกสัญญาที่ไม่เป็นธรรมจากการเคหะแห่งชาติ

       2.  คู่กรณี

            •  การเคหะแห่งชาติ และสถาบันการเงินผู้ให้กู้ยืม

       3.  เอกสารที่เกี่ยวข้อง

            •  สัญญาจะซื้อจะขายสิ่งปลูกสร้าง, สัญญากู้ยืมเงิน, สัญญาค้ำประกัน, หลักฐานการผ่อนชำระเงินค่างวดบ้าน เป็นต้น

       4.  กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

            •  พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551

            •  พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522

            •  พระราชบัญญัติการเคหะแห่งชาติ พ.ศ. 2537

            •  ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจการให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคของสถาบันการเงินเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2549

       5.  ความเสียหาย, มูลค่าความเสียหาย

            •  ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้บริโภคถูกบอกเลิกสัญญา หากผู้ซื้ออยากขอทำสัญญาใหม่ ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม

            •  ค่าเสียโอกาสในการอยู่อาศัยในบ้านหลังเดิม และต้องไปเสียค่าเช่าที่พักอาศัยที่ใหม่ เป็นต้น

       6.  กระบวนการและวิธีการแก้ไขปัญหา

            •  สิ่งที่ทำได้เบื้องต้น เมื่อรู้ว่าตนถูกบอกสัญญาในกรณีนี้ สิ่งแรกที่ต้องทำคือ เข้าไปที่การเคหะแห่งชาติ เพื่อยื่นคำร้องขอความเป็นธรรม และขอกลับเข้าไปทำสัญญาใหม่ โดยขอให้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร หากทำจากบ้านก็ขอให้ส่งเป็นไปรษณีย์ลงทะเบียนแนบใบตอบรับ แต่หากไปเขียนที่การเคหะฯ ก็ขอให้มีสำเนาและให้มีเจ้าหน้าที่ลงชื่อ ตำแหน่ง รับจดหมายด้วย เพื่อเป็นหลักฐานในการติดตามข้อร้องเรียน โดยผู้ร้องต้องติดตามผลของจดหมายหรือหนังสือด้วย

            •  หากที่ผ่านมา ผู้บริโภคไม่เคยสนใจอ่านสัญญามาก่อนเลยนั้น ผู้บริโภคควรกลับไปอ่านสัญญาที่มีคือ สัญญาจะซื้อจะขาย สัญญากู้ยืมเงิน และสัญญาค้ำประกัน ให้ละเอียดชัดเจน

            •  โดยเฉพาะสัญญากู้ยืมเงิน ข้อ 18 ที่ระบุว่า “ในกรณีผู้กู้ผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ให้กู้มีสิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ให้กู้จะแจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้กู้ให้ดำเนินการแก้ไขการผิดสัญญาดังกล่าวภายในระยะเวลาไม่เกิน 15 วัน หากผู้กู้ไม่ดำเนินการแก้ไขจนพ้นระยะเวลาที่ผู้ให้กู้กำหนดผู้กู้ยินดีให้ผู้ให้กู้เรียกให้ผู้กู้ชำระเงินต้นและดอกเบี้ยที่ค้างชำระอยู่ทั้งหมดคืนได้ทันที”

            •  หากพบว่า ข้อเท็จจริงก่อนการบอกเลิกสัญญานั้น ผู้บริโภคไม่เคยได้รับหลักสือแจ้งเตือนจากธนาคารหรือสถาบันการเงิน เพื่อให้ไปแก้ไขข้อผิดสัญญาตามสัญญากู้ยืมเงิน ข้อ 18 ก่อนบอกเลิกสัญญา (ไม่ใช่จดหมายแจ้งเตือนให้ชำระหนี้ตามปกติ) นั้น ต้องถือว่า การบอกเลิกสัญญาของการเคหะแห่งชาตินั้น เป็นการบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เหตุเพราะตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค 2522 มาตรา 35 ทวิ กำหนดให้คณะกรรมการด้านสัญญา มีอำนาจกำหนดให้การประกอบธุรกิจ ขายสินค้าหรือให้บริการใดเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาได้

            •  ซึ่งตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้กู้ยืมเงินเพื่อให้ผู้บริโภคของสถาบันการเงินเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2544 ข้อ 3 (2) บัญญัติ ว่าการผิดสัญญาเรื่องใดของผู้กู้ที่ผู้ให้กู้มีสิทธิบอกเลิกสัญญา จะต้องเป็นข้อที่ผู้ให้กู้ระบุไว้เป็นการเฉพาะด้วยตัวอักษรสีแดงหรือตัวดำ หรือตัวเอน ที่เห็นเด่นชัดกว่าข้อความทั่วไปและก่อนการบอกเลิกสัญญาต้องแจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้กู้และควรกำหนดระยะเวลาอันสมควรให้ผู้กู้แก้ไขการผิดสัญญาหรือผิดเงื่อนไขดังกล่าว

            •  ธนาคารจึงต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้กู้ชำระหนี้ที่ค้างชำระภายในระยะเวลาที่กำหนดก่อนที่จะบอกเลิกสัญญา ธนาคารจึงจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าธนาคารได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้กู้ชำระหนี้ที่ค้างชำระภายในกำหนดก่อน มิฉะนั้นจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ธนาคารคงมีเพียงหนังสือขอให้ชำระหนี้ ซึ่งเป็นหนังสือแจ้งเตือนให้ลูกหนี้ชำระเงินตามปกติเท่านั้น ธนาคารจึงยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา อีกทั้งยังไม่สามารถเรียกให้การเคหะแห่งชาติมาซื้อทรัพย์คืนได้ด้วย กรณีนี้ผู้บริโภคจึงยังไม่ได้เป็นผู้ผิดสัญญา

รู้ไว้ มีประโยชน์! ก่อนเสียเงินจอง ผู้ซื้อต้องรู้อะไรบ้าง

รู้ไว้ มีประโยชน์! ก่อนเสียเงินจอง ผู้ซื้อต้องรู้อะไรบ้าง

 

       แม้ปัญหาที่อยู่อาศัยจะมีหลายระดับ แต่ก้าวแรกของปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย คือ การทำสัญญาจอง ดังนั้น การแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด คือ การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา ซึ่งขั้นตอนหนึ่งที่ผู้ซื้อสามารถเริ่มได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องรอหน่วยงาน เพื่อจะได้ที่อยู่อาศัยดีๆ อย่างที่วาดหวังไว้ คือ การใส่ใจในรายละเอียดต่างๆ ตั้งแต่ต้นทาง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง ด้วยวิธีง่ายๆ ดังต่อไปนี้

       1.  รู้จักตัวเองให้ดีก่อน จำไว้ ก้าวแรกของปัญญา คือเราต้องป้องกัน เมื่อมีความคิดอยากจะมีบ้านสักหลัง ผู้ซื้อต้องประมาณกำลังซื้อและความพร้อมของตนเองก่อน ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ว่ามีเพียงพอหรือไม่ เพราะท่านอาจเจอปัญหาผิดนัดชำระ กลายเป็นซื้อบ้านไม่ได้บ้าน แถมยังต้องเป็นหนี้ก้อนโตอีกต่างหาก

       2.  ศึกษาข้อมูลและรายละเอียดของโครงการที่สนใจ ตรวจสอบโครงการที่สนใจ ว่าเป็นโครงการบริษัทใด มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ บริษัทเป็นที่รู้จักหรือมีผลงานการบริหารจัดการโครงการในอดีตหรือไม่ เพื่อเปรียบเทียบผลงาน โดยดูจากใบโฆษณาการขาย หรือ เว็บไซต์ของโครงการนั้นๆ ที่สำคัญ ผู้ซื้อต้องไม่ลืมที่จะเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องของโครงการทั้งหมดไว้ด้วย

       3.  ต้องรู้กฎหมายเบื้องต้น การอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ใช่คำตอบที่ดีนัก ผู้ซื้อควรต้องรู้ว่า เบื้องต้นมีกฎหมายอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายบ้านและที่ดิน เพื่อเป็นอำนาจต่อรองกับผู้ประกอบการ หรือ เป็นการเพิ่มศักยภาพทางข้อมูลเพื่อการตัดสินใจของผู้ซื้อได้

       4.  ไปดูสถานที่จริง มีหลายกรณีที่ ภาพจากหน้าเว็บไซต์หรือเอกสารแนะนำโครงการ (โบรชัวร์) มีความแตกต่างจากสถานที่จริง ดังนั้นผู้ซื้อควรตระหนักถึงข้อนี้ มิใช่เพียงแค่ดูจากใบโบรชัวร์หรือหน้าเว็บไซต์ ผู้ซื้อต้องไปสำรวจภาพของสถานที่ตั้ง ตัวอย่างบ้านหรือห้องชุดของโครงการว่าเป็นอย่างไร มีความสะดวก เหมาะสม สอดคล้องกับการใช้ชีวิตประจำวันและตรงกับความต้องการหรือไม่

       5.  ศึกษาสัญญาจะซื้อจะขายให้ดี ก่อนการทำสัญญาและวางเงินจอง ผู้บริโภคควรสอบถามถึงรูปแบบของสัญญาว่าเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ หรือขอตัวอย่างหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายจากผู้ขายเพื่อมาศึกษาเป็นตัวอย่างก่อนตัดสินใจ รวมถึงข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับโครงการมาพิจารณาก่อน เพื่อเป็นข้อมูลการตัดสินใจ โดยต้องเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไว้เป็นหลักฐานด้วย

       กรณีสัญญาจะซื้อจะขายบ้านจัดสรรนั้น ตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องใช้แบบมาตรฐานสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจัดสรร ตามประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2546 ซึ่งหากผู้จัดสรรที่ดินใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรา 34 มีโทษตามมาตรา 63 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

       หรือกรณีอาคารชุด ตามมาตรา 6/2 แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2551 กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องใช้แบบมาตรฐานสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด ระหว่างผู้มีกรรมสิทธิในที่ดินและอาคารกับผู้จะซื้อห้องชุด หรือแบบ อช.22 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ซึ่งหากผู้ประกอบการรายใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรา 6/2 มีโทษตามมาตรา 63 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

       6.  มีสติ อย่าหลงเชื่อพนักงานขาย ผู้ซื้อไม่ควรเร่งรีบที่จะเสียเงินจองเพราะของแถม สิทธิพิเศษบรรยากาศ การให้บริการของโครงการ เช่น เห็นมีผู้คนสนใจจองเป็นจำนวนมาก หรือพนักงานสวยๆ พูดจาหวานๆ มาคอยต้อนรับดูแลอย่างดี เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นวิธีการหาลูกค้าและกลวิธีอย่างหนึ่งเพื่อดึงดูดผู้สนใจ

       7.  ทำสัญญาต้องมีใบจอง การทำสัญญาจองบ้านหรือคอนโดแต่ละครั้ง เช่น วันเวลาสถานที่ทำสัญญาจอง, ชื่อผู้จองและผู้รับจอง, รายการทรัพย์สินและราคา ต่อกัน (ถ้าไม่มีห้ามทำสัญญาจองด้วยเด็ดขาด)

สิ่งที่ผู้บริโภคควรรู้ ก่อนรับโอนกรรมสิทธิ

สิ่งที่ผู้บริโภคควรรู้ ก่อนรับโอนกรรมสิทธิ

       หลังจากที่เราทราบวิธีการเบื้องต้นในการที่จะซื้อบ้านแล้ว หลังจากวางเงินมัดจำหรือเงินจองแล้ว ก็จะอยู่ในระหว่างที่เราต้องใส่ใจในเรื่องการผ่อนชำระค่าบ้านแก่โครงการ ก่อนที่จะรับโอนบ้าน ซึ่งมีข้อสังเกตและคำเตือนแก่ผู้บริโภค ดังนี้

       1.  ผู้บริโภคต้องชำระเงินค่าผ่อนบ้านให้ตรงตามกำหนดเวลาและเงื่อนไขในสัญญา ไม่ควรผิดนัด หรือค้างชำระหนี้ มิฉะนั้น ท่านอาจถูกทางโครงการบอกเลิกสัญญาซื้อขายเอาไว้เนื่องจากตกเป้นผู้ผิดสัญญา และอาจถูกริบเงินค่ามัดจำในที่สุด

       2.  ในระหว่างที่ผ่อนบ้านนั้น ก็ควรเตรียมเอกสารและหลักฐานต่างๆ ในการทำเรื่องขอกู้เงินผ่อนบ้านกับสถาบันการเงินหรือธนาคารต่างๆ ให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาที่ตามมาคือ กู้เงินไม่ผ่านและถูกริบเงินมัดจำเนื่องจากผิดสัญญา ไม่สามารถรับโอนบ้านได้

       3.  ก่อนที่จะรับโอน ควรใส่ใจ แวะตรวจดูบ้านที่ทำสัญญาซื้อขาย หากยังไม่ดำเนินการหรือดำเนินการก่อสร้างล่าช้า ผู้บริโภคควรระงับการชำระเงินค่าผ่อนบ้านเอาไว้ก่อน และทำหนังสือแจ้งไปยังโครงการให้รีบดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามสัญญา

       4.  แต่หากทำหนังสือแจ้งแล้ว โครงการยังเพิกเฉยหรือดำเนินการล่าช้า ไม่สร้างให้เสร็จตามสัญญา กรณีเช่นนี้ ถือว่าโครงการเป็นผู้ผิดสัญญา ผู้บริโภคมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและขอเงินที่ชำระไปแล้วคืน และหากมีค่าเสียหายเกิดขึ้นจากการที่บ้านสร้างไม่เสร็จ เช่น ต้องไปซื้อบ้านที่อื่น ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นก็สามารถเรียกร้องให้โครงการรับผิดในส่วนนี้ได้อีกเช่นกัน

       5.  หรือหากบ้านที่จะซื้อ ทางโครงการได้สร้างเสร็จแล้ว ก่อนการรับโอนกรรมสิทธิ ผู้บริโภคควรตรวจสอบดูสภาพของบ้านอย่างละเอียด โดยแจ้งนัดตรวจบ้านกับเจ้าหน้าที่โครงการให้ชัดเจน อาจทำเป็นหนังสือแจ้งทางโครงการและควรนัดช่วงเช้า เพื่อให้มีเวลาตรวจสอบได้ทั้งวัน อีกทั้งมีแสงสว่างเพียงพอ ทำให้สามารถตรวจสอบได้ละเอียดอีกด้วย

       หากตรวจสอบบ้านแล้ว พบว่าบ้าน ยังไม่เรียบร้อย ไม่เหมาะสมกับการพักอาศัยอยู่ คำตอบเดียวที่ทำได้คือ ห้ามรับโอนกรรมสิทธิ โดยเด็ดขาด !! แม้จะถูกรบเร้า ขอร้อง อ้อนวอน จากพนักงานชาย ผู้บริโภคควรทำหนังสือแจ้งไปยังโครงการให้รีบดำเนินการแก้ไข และขอขยายกำหนดเวลารับโอนกรรมสิทธิออกไปก่อน จนกว่าทางโครงการจะดำเนินการเสร็จเรียบร้อย จึงจะยอมรับโอนกรรมสิทธิบ้านตามสัญญาได้

แล้วปัญหาสุดฮิต !!! และวิธีแก้สุดแนว ของการจองบ้าน มีอะไรบ้าง?

•  แล้วปัญหาสุดฮิต !!! และวิธีแก้สุดแนว ของการจองบ้าน มีอะไรบ้าง?

       •  หากเสียเงินทำสัญญาจองแล้ว แต่กู้ไม่ผ่าน ผู้ซื้อจะได้เงินจองคืนได้หรือไม่

            ο  ก่อนทำสัญญาจอง

                -  ผู้ซื้อต้องตรวจสอบเครดิตการเงินกับธนาคารหรือสถาบันการเงินก่อน ว่าสามารถกู้เงินได้หรือไม่ หากพร้อม ค่อยทำสัญญาต่อไป

                -  ผู้ซื้อต้องไม่อาย ที่จะสอบถามผู้ประกอบการให้ชัดเจน ว่าหากผู้ซื้อกู้ธนาคารไม่ผ่าน จะคืนเงินหรือไม่ เพื่อความชัดเจนในการตัดสินใจของผู้ซื้อ

                -  ผู้ซื้อต้องรู้จักสังเกตเงื่อนไขในสัญญาให้ดี หากพบข้อความในทำนองว่า ถ้ากู้ธนาคารไม่ผ่านจะถูกริบเงิน ผู้ซื้อต้องโต้แย้งและขอให้แก้ไขข้อความดังกล่าวโดยทันที หากผู้ประกอบการไม่ยอมแก้ไขสัญญา ผู้ซื้อก็ไม่ควรทำสัญญาด้วย

                -  การทำเรื่องกู้เงินกับธนาคารเดียวอาจจะมีความเสี่ยง ผู้ซื้อควรขอยื่นกู้มากกว่าหนึ่งธนาคารและอาจหาผู้คำประกันหรือผู้กู้ร่วม เพื่อเพิ่มโอกาสในการกู้ให้ผ่านมากขึ้น

            ο  หลังทำสัญญาจองแล้ว กู้ไม่ผ่าน

                -  ผู้ซื้อต้องกลับไปดูสัญญาให้ละเอียดว่ามีข้อความเกี่ยวกับ ถ้าผู้ซื้อกู้ธนาคารไม่ผ่านแล้วผู้ประกอบการจะคืนเงินหรือไม่

                -  หากไม่มีข้อความระบุ ว่าจะไม่คืนเงิน กรณีกู้ไม่ผ่าน ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้องผู้ประกอบการขอเงินคืนได้ทันที ด้วยการทำหนังสือขอเงินคืน โดยทำเป็นจดหมายลงทะเบียนแนบใบตอบรับ

                -  แต่หากมีข้อความระบุ ว่าจะไม่คืนเงิน กรณีกู้ไม่ผ่าน ผู้ซื้อก็ยังมีสิทธิเรียกร้องขอเงินคืนด้วย การทำหนังสือถึงผู้ประกอบการ เพื่อขอเงินคืน โดยทำเป็นจดหมายลงทะเบียนแนบใบตอบรับได้เช่นกัน เนื่องจากผู้ประกอบการต้องใช้สัญญามาตรฐานในการทำสัญญาซื้อขายกับผู้ซื้อ ซึ่งสัญญามาตรฐานจะไม่มีสัญญาข้อนี้อยู่

                -  หากผู้ประกอบการปฏิเสธการคืนเงินทุกกรณี ผู้ซื้อมีสิทธิร้องเรียนต่อหน่วยงาน เช่น สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค หรือมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคให้ช่วยเจรจาไกล่เกลี่ย และฟ้องคดีต่อศาลเป็นคดีผู้บริโภคเพื่อเรียกร้องเงินคืนได้

หน่วยงานรับเรื่องร้องเรียน ด้านที่อยู่อาศัย

•  หน่วยงานรับเรื่องร้องเรียน ด้านที่อยู่อาศัย

       1.  สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สคบ.

            •  ร้องเรียนด้วยตัวเองได้ที่ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10120

            •  สายด่วน 1166

            •  https://www.ocpb.go.th

            •  Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.">       2.  สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ (ศาลากลางประจำจังหวัดทุกจังหวัด)

       3.  กรมที่ดิน

            •  ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210

            •  โทรศัพท์ : 02-1415555

            •  https://www.dol.go.th

       4.  การเคหะแห่งชาติ

            •  เลขที่ 905 ถนนนวมินทร์ แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

            •  โทรศัพท์ 0-2351-7777

            •  สายด่วน 1615

            •  Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ด้านสินค้าและบริการทั่วไป

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.">ด้านสินค้าและบริการทั่วไป

 

       ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ได้กำหนดนิยามความหมายของคำว่า “สินค้า” หมายถึง สิ่งของที่ผลิตหรือมีไว้เพื่อขาย และคำว่า “บริการ” หมายถึง การรับจัดงาน การให้สิทธิใดๆ หรือการให้ใช้หรือให้ประโยชน์ในทรัพย์สินหรือกิจการใดๆ โดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อื่น

       ปัจจุบันสินค้าและบริการในท้องตลาดมีมากมายหลายชนิดหลายประเภท เช่น โทรศัพท์มือถือ, โทรทัศน์, เครื่องปรับอากาศ, รถยนต์ เป็นต้น รวมถึงบริการต่างๆ เช่น สถานออกกำลังกาย, สถานเสริมความงาม, บริการท่องเที่ยว

       อย่างไรก็ตามการซื้อสินค้าและใช้บริการในปัจจุบัน อาจมีความชำรุดบกพร่องอันเนื่องมาจาก ขาดการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ผลิตหรือผ่านการตรวจสอบแต่ไม่พบข้อบกพร่องในขั้นตอนการผลิต ผู้บริโภคไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีความชำรุดบกพรอง หรือมีคุณภาพตามที่ได้ระบุไว้หรือไม่ รวมถึงการบริหารต่างๆ ของผู้บริโภคที่ไม่ได้เป็นไปตามสัญญา ส่งผลให้ผู้บริโภคต้องมีความเสี่ยงในการซื้อสินค้าหรือการใช้บริการ บางกรณีสามารถจบได้ด้วยการเจรจา แต่ก็มีอีกหลายกรณีที่ผู้บริโภคต้องแก้ไขปัญหาด้วยการฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก้ไขปัญหา จากสาเหตุดังกล่าวทำให้ภาครัฐต้องเข้ามามีบทบาทในการดูแลคุ้มครองผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันการคุ้มครองกลายเป็นกระแสหลักที่คนในสังคมให้ความสำคัญ โดยเฉพาะการซื้อสินค้าหรือบริการที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม

สิทธิผู้บริโภค ตามพรบ.ความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551

สิทธิผู้บริโภค ตามพระราชบัญญัติความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551

       1.  ผู้ประกอบการทุกคนต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย โดยไม่คำนึงว่า ความเสียหายนั้นเกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบการหรือไม่

       2.  ผู้เสียหายเพียงพิสูจน์ว่าได้รับความเสียหายจากการใช้และเก็บสินค้าตามปกติธรรมดาเท่านั้น ไม่ต้องพิสูจน์ถึงความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบการหรือพิสูจน์ว่าความเสียหายเกิดจากผู้ประกอบการรายใด

       3.  ภาระการพิสูจน์ถึงความไม่ปลอดภัยของสินค้าให้ตกเป็นของผู้ประกอบการ

       4.  ผู้ประกอบการไม่สามารถนำข้อตกลงที่ยกเว้น หรือจำกัดความรับผิดชอลผู้ประกอบการที่ได้ทำไว้ล่วงหน้าก่อนเกิดความเสียหายหรือคำประกาศหรือคำแจ้งของผู้ประกอบการเพื่อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดชอบต่อความเสียหายอันเกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยมาใช้ได้

       5.  อายุความสะดุดหยุดลง ถังยังมีการเจรจาเกี่ยวกับค่าเสียหาย จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะได้บอกเลิกการเจรจา

       6.  นอกจากค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงแล้ว ศาลยังมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายสำหรับความเสียหายต่อจิตใจอันเนื่องมาจากความเสียหายต่อร่างกาย สุขภาพ หรือบุตรของผู้นั้นมีสิทธิที่จะได้รับค่าเสียหายต่อจิตใจ

ตัวอย่างปัญหาและแนวทางการแก้ไข : ตัวอย่างที่ 1 กรณีรถยนต์ป้ายแดงชำรุดบกพร่อง

ตัวอย่างปัญหาและแนวทางการแก้ไข

 

 ตัวอย่างที่ 1  กรณีรถยนต์ป้ายแดงชำรุดบกพร่อง

       ผู้ร้องได้ซื้อรถต์ป้ายแดง ด้วยการชำระเป็นเงินสด โดยผู้ร้องตั้งใจใช้รถยนต์คันดังกล่าวในการรับส่งบุตรไปโรงเรียนและใช้ขับไปทำงานในชีวิตประจำวัน แต่หลังจากใช้งานวันแรกเพียงวันเดียว พบว่ารถยนต์มีอาการกระดูกและดับขณะที่กำลังขับรถอยู่บนถนน ผู้ร้องรีบโทรแจ้งศูนย์บริการให้มาตรวจสอบ และพบว่าเกียร์พัง ศูนย์บริการฯ แนะนำให้นำรถยนต์เข้าศูนย์เพื่อตรวจสอบโดยละเอียดอีกครั้ง โดยศูนย์บริการจะขอซ่อมรถยนต์ให้ ผู้ร้องเห็นว่ารถยนต์เพิ่งซื้อมาใช้วันเดียวก็พังแล้ว จึงมาร้องทุกข์กับศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค กรณีนี้จะดำเนินการอย่างไรได้บ้าง และผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องอะไรบ้าง

       แนวทางและวิธีการแก้ไข

       1.  ข้อเท็จจริง

            •  กรณีนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับซื้อรถยนต์มาใช้เพียงวันเดียว แล้วเกิดชำรุดบกพร่อง

       2.  คู่กรณี

            •  ศูนย์บริการซ่อมรถยนต์, บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์

       3.  เอกสารที่เกี่ยวข้อง

            •  สัญญาซื้อขาย, คู่มือจดทะเบียนรถยนต์, คู่มือการใช้รถยนต์, ใบเสร็จรับเงินที่เกี่ยวข้องกับการซื้อรถยนต์, กรรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์, รายการซ่อมรถยนต์ของศูนย์บริการ เป็นต้น

       4.  กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 

            •  พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551

            •  พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522

       5.  ความเสียหาย, มูลค่าความเสียหาย

            •  ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการที่ไม่ได้ใช้รถยนต์ในชีวิตประจำวัน เช่น ระหว่างที่รถยนต์เข้าศูนย์บริการ ผู้ร้องต้องขึ้นรถรับจ้าง (TAXI) ไปทำงาน เป็นต้น

       6.  กระบวนการและวิธีแก้ไขปัญหา

            •  แผนการแก้ไขปัญหา

               1.  กรณีนี้ ผู้ร้องควรทำหนังสือถึงบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์ที่ซื้อ, ศูนย์บริการหรือศูนย์จำหน่ายรถยนต์ที่ซื้อ โดยจัดส่งเป็นจดหมายลงทะเบียนแนบไปรษณีย์ตอบรับ เพื่อแสดงความประสงค์และยืนยันจะขอคืนรถยนต์ และไม่ยินยอมให้มีการซ่อมแซมโดยเด็ดขาด เนื่องจากเป็นปัญหารถยนต์ป้ายแดงที่ใช้งานเพียงวันเดียว มีปัญหาชำรุดบกพร่อง

                2.  หากบริษัทไม่ยินยอมให้คืนรถยนต์ ควรฟ้องเป็นคดีผู้บริโภค

ตัวอย่างที่ 2 กรณีบริการสถานออกกำลังกาย

•  ตัวอย่างที่ 2  กรณีบริการสถานออกกำลังกาย

       ผู้ร้องขอคำปรึกษาว่า ตนได้ไปสมัครสมาชิกสถานให้บริการออกกำลังกายแห่งหนึ่ง โดยทำสัญญาประเภท 12 เดือน และจ่ายผ่านบัตรเครดิตรายเดือน ต่อมาผู้ร้องพบว่าตนเองตั้งครรภ์ แพทย์สั่งห้ามออกกำลังกาย ผู้ร้องจึงต้องการบอกเลิกสัญญาเพราะไม่สามารถไปใช้บริการได้แล้ว แต่พนักงานของผู้ประกอบธุรกิจปฏิเสธ อ้างว่าไม่สามารถยกเลิกสัญญาก่อนกำหนดได้ ต้องเสียค่าบริการเต็ม 12 เดือน กรณีนี้จะดำเนินการอย่างไรได้บ้าง

       แนวทางและวิธีการแก้ไข

       1.  ข้อเท็จจริง

            •  กรณีนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับการสมัครสมาชิกสถานออกกำลังกาย แต่เมื่อมีเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถใช้บริการได้ ผู้ร้องกลับไม่สามารถบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนดได้

            •  การทำสัญญาบริการสถานออกกำลังกาย

       2.  คู่กรณี

            •  ผู้ประกอบการสถานออกกำลังกาย

       3.  เอกสารที่เกี่ยวข้อง

            •  สัญญาขอใช้บริการ, เอกสารประกอบการขายบริการ, สัญญาการจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต, รายการการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต เป็นต้น

       4.  กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

            •  พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551

            •  พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522

            •  ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2542

            •  ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้บริการออกกำลังกายเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2554

       5.  ความเสียหาย, มูลค่าความเสียหาย

            •  ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตทุกเดือน โดยที่ไม่ได้ใช้ และไม่สามารถบอกเลิกสัญญาการใช้บริการได้

       6.  กระบวนการและวิธีการแก้ไขปัญหา

            •  กรณีนี้ ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้บริการออกกำลังกายเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2554 ข้อ 3 (4) กำหนดสิทธิการเลิกสัญญาของผู้บริโภคไว้ โดยกรณีตั้งครรภ์ย่อมเข้าเงื่อนไขตาม (ข) ที่ระบุว่า “มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรจากแพทย์ยืนยันว่าการใช้บริการออกกำลังกายต่อไปอาจจะก่อให้เกิดอัตรายต่อสุขภาพ หรือสุขภาพร่างกายหรือจิตใจผิดปกติ

            •  ดังนั้นผู้ร้องควรทำหนังสือถึงผู้ประกอบการสถานออกกำลังกาย โดยอ้างถึงเหตุผลในการบอกเลิกสัญญาตามประกาศฯ พร้อมใบรับรองแพทย์ หรือหลักฐานที่แพทย์ออกให้ และจัดส่งเป็นจดหมายลงทะเบียนแนบไปรษณีย์ตอบรับ เพื่อแสดงความประสงค์และยืนยันการขอเลิกสัญญา

            •  และทำหนังสือถึงธนาคารผู้ให้บริการบัตรเครดิต แจ้งขอยุติการชำระค่าบริการเพื่อมิให้ถูกบังคับชำระรายเดือนต่อไป (พร้อมแนบสำเนาหนังสือที่ส่งถึงผู้ประกอบการสถานออกกำลังกายด้วย) ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2542

            •  หากไกล่เกลี่ยไม่ได้ ผู้บริโภคมีสิทธิฟ้องศาลเป็นคดีผู้บริโภคได้

       นอกจากนี้ปัญหาสำคัญของสถานออกกำลังกายที่เกิดขึ้นคือการขายสมาชิกประเภทตลอดชีพ ซึ่งผิดกฎหมายทำไม่ได้ ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้บริการออกกำลังกายเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2554 ข้อ 4 (4) ห้ามมีข้อสัญญาที่กำหนดระยะเวลาเกิน 1 ปี

ตัวอย่างที่ 3 กรณีจองทัวร์ไปต่างประเทศแล้วถูกโกง

•  ตัวอย่างที่ 3  กรณีจองทัวร์ไปต่างประเทศแล้วถูกโกง

       ผู้ร้องขอคำปรึกษาว่า ตนและคณะได้ซื้อกรุ๊ปทัวร์รวมจำนวน 20 คน กับบริษัทผู้ประกอบการท่องเที่ยวการค้า โดยรู้จักบริษัทนี้ผ่านงานท่องเที่ยวไทยที่จัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อเดินทางไปท่องเที่ยวที่จังหวัดกระบี่รวมเวลาทั้งหมด 5 วัน ในอัตราเหมาจ่ายคนละ 15,000 บาท ซึ่งทุกคนได้จ่ายเงินผ่านธนาคารให้กับบริษัททัวร์ครบทั้งหมดแล้ว แต่เมื่อใกล้ถึงกำหนดการ ก็ไม่มีการแจ้งยืนยันกลับมาจากบริษัท ผู้ร้องจึงได้พยายามติดต่อไปที่บริษัท แต่ไม่สามารถติดต่อได้ ผู้ร้องจึงคิดว่าถูกโกงแล้ว จะทำยังไง

       แนวทางและวิธีการแก้ไข

       1.  ข้อเท็จจริง

            •  กรณีนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับการซื้อบริการทัวร์ แล้วไม่เป็นไปตามสัญญา ไม่สามารถท่องเที่ยวได้จริง

       2.  คู่กรณี

       3.  บริษัทผู้ประกอบการท่องเที่ยวการค้า

       4.  เอกสารที่เกี่ยวข้อง

            •  หลักฐานการขอใช้บริการ, ใบเสร็จการชำระค่าบริการ, แผ่นพับโฆษณาการขายทัวร์ท่องเที่ยวโปรแกรมนำเที่ยว, รายการเดินทาง, บันทึกประจำวัน เป็นต้น

       5.  กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

            •  พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551

            •  พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2552

            •  พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2535

            •  ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341

       6.  ความเสียหาย, มูลค่าความเสียหาย

            •  ค่าใช้จ่ายในการซื้อบริการทัวร์ที่ชำระล่วงหน้าไปแล้ว

            •  ค่าเสียหายอื่นๆ เช่น ค่าเสียโอกาสในการเดินทางไปท่องเที่ยว เป็นต้น

       7.  กระบวนการและวิธีการแก้ไขปัญหา

            •  กรณีนี้ ผู้ร้องควรแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษผู้ประกอบการในข้อหาฉ้อโกงประชาชน มาตรา 341 เป็นคดีอาญาที่สถานีตำรวจในพื้นที่ได้ โดยผู้ทำผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

            •  ทำหนังสือแจ้งเรื่องร้องเรียนไปยังกรมการท่องเที่ยว เพื่อขอให้ตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมายการประกอบธุรกิจของบริษัทท่องเที่ยวนี้ โดยขอให้บริษัทต้องคืนเงินทั้งหมดด้วย

            •  ทำหนังสือถึงสำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เพื่อขอรับเงินกองทุนคุ้มครองธุรกิจนำเที่ยวตามมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2535 ที่กำหนดให้มีการดำเนินการทดรองจ่ายเงินชดเชยค่าเสียหายให้แก่นักท่องเที่ยวจากการที่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด https://www.tourism.go.th/index.php?mod=WebGuide&file=details&dcID=509

            •  ในส่วนคดีทางแพ่ง ผู้บริโภคมีสิทธิฟ้องศาลเป็นคดีผู้บริโภคเพื่อเรียกค่าเสียหายทั้งหมดคืนได้

ตัวอย่างที่ 4 กรณีจองรถยนต์แล้วไม่ได้รถ แต่ถูกริบเงินจอง

•  ตัวอย่างที่ 4  กรณีจองรถยนต์แล้วไม่ได้รถ แต่ถูกริบเงินจอง

       ผู้ร้องขอคำปรึกษาว่า ได้จองซื้อรถยนต์ใหม่ป้ายแดงที่ศูนย์บริการแห่งหนึ่ง และได้วางเงินจองให้กับพนักงานขายเป็นเงินจำนวน 5,000 บาท โดยมีกำหนดนัดรับรถยนต์ในอีก 2 สัปดาห์ โดยพนักงานขายได้ออกใบจองรถยนต์ พร้อมระบุข้อความในใบจองว่าชำระเงินจองล่วงหน้าแล้ว 5,000 บาท แต่เมื่อใกล้ถึงกำหนดวันรับรถยนต์เมื่อผู้ร้องติดตามก็ได้คำตอบว่า รถยนต์ที่สั่งจองไว้ยังไม่ได้ แต่มีรถยนต์รุ่นเดียวกันสีอื่นวางอยู่ ผู้ร้องเห็นว่า ศูนย์บริการผิดเงื่อนไข จึงต้องการยกเลิกสญญาและขอเงินจองคืน ศูนย์บริการแจ้งว่าขอหักค่าบริการ 2,000 บาท และจะคืนให้ผู้ร้องเพียง 3,000 บาท เท่านั้น ผู้ร้องจะทำอย่างไร

       แนวทางและวิธิการแก้ไข

       1.  ข้อเท็จจริง

            •  กรณีเป็นปัญหาเกี่ยวกับการจองรถยนต์แล้วไม่ได้รถตามที่จองไว้ จึงต้องการยกเลิกสัญญาและขอเงินจองคืน

       2.  คู่กรณี

            •  ศูนย์บริการที่ขายและรับจองรถยนต์

       3.  เอกสารที่เกี่ยวข้อง

            •  หลักฐานการจองรถยนต์, ใบจองรถยนต์, ใบเสร็จค่าจองรถยนต์

       4.  กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

            •  พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551

            •  พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2552

            •  ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการขายรถยนต์ที่มีการจองเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2551

       5.  ความเสียหาย, มูลค่าความเสียหาย

            •  ค่าใช้จ่ายในการจองรถยนต์

            •  ค่าเสียหายอื่นๆ เช่น ค่าเสียโอกาสในการได้ซื้อรถยนต์ เป็นต้น

       6.  กระบวนการและวิธีแก้ไขปัญหา

            •  กรณีนี้ ผู้ร้องควรทำหนังสือถึงศูนย์บริการ โดยการจัดส่งเป็นจดหมายลงทะเบียนแนบไปรษณีย์ตอบรับ เพื่อขอให้คืนเงินจองเต็มจำนวน โดยอ้างอิงประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการขายรถยนต์ที่มีการจองเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2551 ข้อ 3 ที่มีการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับสัญญาจองรถยนต์ที่ต้องมีมาตรฐาน และกำหนดสิทธิให้ผู้บริโภคมีสิทธิบอกเลิกสัญญา ซึ่งเมื่อมการบอกเลิกสัญญาแล้วผู้ประกอบธุรกิจต้องคืนเงินหรือสิ่งใดที่รับไว้เป็นมัดจำทั้งหมดคืนให้ผู้บริโภคภายใน 15 วัน

            •  หากไม่สามารถตกลงกันได้ ผู้บริโภคมีสิทธิฟ้องศาลเป็นคดีผู้บริโภคได้

หน่วยงานรับเรื่องร้องเรียน ด้านสินค้าและบริการทั่วไป

•  หน่วยงานรับเรื่องร้องเรียน ด้านสินค้าและบริการทั่วไป

       1.  สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สคบ.

            •  ร้องเรียนด้วยตัวเองได้ที่ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10120

            •  สายด่วน 1166

            •  https://www.ocpb.go.th

            •  อีเมล์ : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.">       2.  สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ (ศาลากลางประจำจังหวัดทุกจังหวัด)

       3.  กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

            •  44/100 ถนนนนทบุรี 1 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

            •  โทรศัพท์ 02-5076111

            •  โทรสาร 02-5475361

            •  สายด่วน 1569

ด้านบริการสุขภาพ

ด้านบริการสุขภาพ

 

สิทธิที่เกี่ยวข้อง

       ปัจจุบันประเทศไทย มีระบบหลักประกันสุขภาพของคนไทย 4 ระบบหลักที่ครอบคลุมคนไทยต่างๆ ได้แก่

       1)  สวัสดิการข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (4.94 ล้านคน)

       2)  ระบบประกันสังคม (9.4 ล้านคน)

       3)  ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (47.7 ล้านคน)

       4)  ระบบอื่นๆ (0.68 ล้านคน) เช่น บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ส.ส. ส.ว. เป็นต้น

ประกันสังคม

ประกันสังคม

       ประกันสังคม ตั้งอยู่บนหลักการ เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข และเป็นหลักประกันด้านรายได้ให้กับสมาชิก ซึ่งสมาชิกของประกันสังคมก็ได้แก่ ผู้ประกันตนที่มีอายุระหว่าง 15-54 หรือ 60 ปี หรือวัยทำงาน และต้องทำงานในสถานประกอบการ ต้องมีนายจ้างชัดเจน โดยมีสิทธิประโยชน์อื่นมากไปกว่าการรักษาพยาบาล

       ทุกคนที่ทำงานในสถานประกอบการตามกฎหมายและมีนายจ้าง ต้องเป็นผู้ประกันตนและมีหน้าที่ร่วมจ่ายเงินสมทบเข้าประกันสังคม 5% ของเงินเดือนโดยคิดฐานเงินเดือนต่ำสุดที่ 1,650 บาท ไปจนเพดานสูงสุดที่ 15,000 บาท เงินสมทบนี้ในกรณีที่เป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 คือผู้ที่ทำงานในสถานประกอบการและมีนายจ้าง จะมีการสมทบทั้ง 3 ฝ่าย คือ ผู้ประกันตน นายจ้างและรัฐ และใน 5 นี้ ประกันสังคมจะแบ่งเป็นกรณี ดังนี้ (ในสถานการณ์ปกติ ยกเว้นปี 2555 ที่สำนักงานประกันสังคมประกาศลดอัตราเงินสมทบลง)

       จากสิทธิประโยชน์และเงินสมทบดังกล่าว จะเห็นว่า เงินสมทบใน 4 กรณีแรก อยู่บนหลักการ เฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข ใครจำเป็นต้องใช้ก็จะได้สิทธิ ใครไม่จำเป็นต้องใช้ก็จะไม่ได้คืน
ส่วนเงินสมทบในกรณีชราภาพ อยู่บนหลักการว่าจะมีหลักประกันรายได้ยามชรา เมื่อถึงอายุ 55 หรือ 60 ปี และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนแล้ว

สิทธิผู้ป่วย 10 ประการ

สิทธิผู้ป่วย 10 ประการ

       สภาวิชาชีพ และหน่วยงานที่มีส่วนสัมพันธ์กับผู้ป่วยโดยตรง ซึ่งได้แก่ แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา และคณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ ได้ร่วมกันประกาศสิทธิของผู้ป่วยเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2541 ได้แก่

       1.  มีสิทธิพื้นฐานได้รับบริการด้านสุขภาพตามรัฐธรรมนูญ

       2.  สิทธิที่จะได้รับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ

       3.  สิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอ เพื่อเลือกในการเข้ารับบริการ

       4.  สิทธิที่จะได้รับทราบชื่อ สกุล ประเภท ของผู้ให้บริการตน

       5.  สิทธิที่จะขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพอื่นๆ และมีสิทธิเปลี่ยนผู้ให้บริการ และสถานพยาบาล

       6.  สิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือโดยเร่งด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ เมื่ออยู่ในภาวะเสี่ยงอันตราย

       7.  สิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง

       8.  สิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของตนเอง

       9.  สิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลในการเข้าร่วมในการทำวิจัยของผู้ประกอบวิชาชีพ

     10.  บิดา มารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรม อาจใช้สิทธิแทน ผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี บกพร่องทางจิต หรือไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตนเอง สิทธิที่จะขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพอื่น และมีสิทธิเปลี่ยนผู้ให้บริการและสถานพยาบาล

กลุ่มบุคคลที่ไม่ต้องจ่าย 30 บาท

กลุ่มบุคคลที่ไม่ต้องจ่าย 30 บาท

       บุคคลที่ไม่ต้องจ่ายค่าบริการตามสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง บุคคลที่ไม่ต้องจ่ายค่าบริการ พ.ศ. 2555

       1.  ผู้มีรายได้น้อย ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยสวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2537

       2.  ผู้นำชุมชน ได้แก่ กำนัน สารวัตรกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และบุคคลในครอบครัว

       3.  อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร และบุคคลในครอบครัว

       4.  ผู้ที่มีอายุเกินกว่า 60 ปีบริบูรณ์

       5.  เด็กอายุไม่เกิน 12 ปีบริบูรณ์

       6.  คนพิการตามกฎหมายว่าด้วยส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ทั้งนี้จะมีบัตรประจำตัวคนพิการหรือไม่ก็ตาม

       7.  พระภิกษุ สามเณร ในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีหนังสือสุทธิรับรอง แม่ชี นักบวช นักพรต และผู้นำศาสนาอิสลามที่มีหนังสือรับรอง ซึ่งหมายถึงกรรมการอิสลามประจำมัสยิด กรรมการอิสลามประจำจังหวัด กรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย อิหม่าม คอเด็บ และบิหลั่นและบุคคลในครอบครัวของผู้นำศาสนาอิสลาม

       8.  ทหารผ่านศึกทุกระดับชั้น (ชั้น 1-4) ที่มีบัตรทหารผ่านศึกษา และบุคคในครอบครัว รวมถึงผู้ได้รับพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิและทายาท

       9.  นักเรียนไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

     10.  นักเรียนทหารและทหารเกณฑ์

     11.  ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญงานพระราชสงครามในทวีปยุโรปและบุคคในครอบครัว

     12.  อาสาสมัครมาเลเรีย ตามโครงการของกระทรวงสาธารณสุข และบุคคลในครอบครัว

     13.  ช่างสุขภัณฑ์หมู่บ้านตามโครงการของกรมอนามัยและบุคคลในครอบครัว

     14.  ผู้บริหารโรงเรียน และครูของโรงเรียนเอกชนที่สอนศาสนาอิสลามควบคู่กับวิชาสามัญ หรือวิชาชีพและบุคคลในครอบครัว ในเขตจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช ระนอง กระบี่ พังงาน และภูเก็ต

     15.  ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญราชการชายแดน

     16.  ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน

     17.  สมาชิกผู้บริจาคโลหิตของสภากาชาดไทย ซึ่งมีหนังสือรับรองจากสภากาชาดไทย ว่าได้รับบริจาคโลหิตตั้งแต่ 18 ครั้งขึ้นไป

     18.  หมออาสาหมู่บ้านตามโครงการกระทรวงกลาโหม

     19.  อาสาสมัครคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม

     20.  อาสาสมัครทหารพรานในสังกัดกองทัพบก

     21.  บุคคลที่แสดงความประสงค์ไม่จ่ายค่าบริการ

สิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้น ตามมาตรา 41 แห่ง พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

สิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้น ตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

       มาตรา 41 บัญญัติไว้ว่า "ให้คณะกรรมการ กับเงินจำนวนไม่เกินร้อยละหนึ่ง ของเงินที่จะจ่ายให้หน่วยบริการ ไว้เป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ให้กับผู้บริการ ในกรณีที่ผู้รับบริการ ได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ โดยหาผู้กระทำมิได้หรือหาผู้กระทำผิดได้แต่ยังไม่ได้รับความเสียหาย ภายในระยะเวลาอันสมควร ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด"

       บทบัญญัติมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว มีเจตนารมณ์มุ่งหวังเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหายจากการักษาพยาบาลโดยการให้ความช่วยเหลือนี้มีลักษณะเป็นการบรรเทา ความเดือดร้อนเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการ ในขณะเดียวกันก็ยังใช้เป็นเครื่องมือในการักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้รับบริการและผู้ให้บริการ ที่จะร่วมกันคลี่คลายปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการให้บริการสาธารณสุขอีกด้วย

       เงินช่วยเหลือเบื้องต้น หมายถึง เงินที่จ่ายให้ผู้รับบริการหรือทายาทหรือผู้อุปการะ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับค่าเสียหายจากการรักษาพยาบาลในหน่วยบริการ โดยมิต้องรอการพิสูจน์ถูกผิด

ขั้นตอนการยื่นคำร้อง

ขั้นตอนการยื่นคำร้อง

      1.  ผู้ได้รับความเสียหายหรือทายาท สามารถยื่นคำร้องได้ภายใน 1 ปี นับจากที่ทราบว่าได้รับความเสียหาย โดยติดต่อยื่นคำร้องได้ที่ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในโรงพยาบาลหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (จังหวัดที่เกิดเหตุ)

       2.  คณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องค้นของผู้รับบริการระดับจังหวัดดำเนินการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในไม่เกิน 30 วัน

 

ใครคือผู้มีสิทธิยื่นคำร้องตาม มาตรา 41

       1.  ผู้บริโภคที่รับบริการ

       2.  ทายาทของผู้รับบริการ

       3.  ผู้อุปการะ ซึ่งหมายถึง ผู้ให้ความช่วยเหลือ หรือดูแลผู้รับบริการ

       4.  หน่วยบริการที่ให้บริการแก่ผู้รับบริการ

 

สถานที่ยื่นคำร้อง

       ผู้เสียหายสามารถยื่นคำร้องดัวยตนเองได้ที่

       1.  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

       2.  หน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน (ชื่อสมมุติ) (ศูนย์ 50 (5))

       3.  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ในจังหวัดที่เกิดเหตุ

       4.  กรณีเกิดเหตุที่กรุงเทพมหานคร ยื่นเรื่องได้ที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13

 

เนื้อหาในคำร้องต้องมีอะไรบ้าง

       การยื่นคำร้องสามารถใช้วิธีการเขียนเป็นจดหมาย หรือสามารถใช้แบบฟอร์มการรับเรื่องร้องเรียน ของหน่วยรับเรื่องร้องเรียนที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้อง หรือ ศูนย์ 50 (5)

       1.  ชื่อผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหาย

       2.  ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการสาธารณสุข

       3.  ชื่อของหน่วยบริการที่ให้บริการสาธารณสุข

       4.  วันที่มีความเสียหายเกิดขึ้นหรือวันที่ทราบถึงความเสียหาย

       5.  สถานที่ ที่สามารถติดต่อกับผู้รับบริการหรือผู้ยื่นคำร้องได้โดยเร็ว

       6.  สถานภาพของผู้รับบริการ เช่น อาชีพ รายได้ สถานะครอบครัว ความรับผิดชอบ เป็นต้น

 

หลักฐานประกอบคำร้องของผู้เสียหาย มีดังนี้

       1.  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือ สูติบัตร

       2.  สำเนาทะเบียนบ้าน

       3.  หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีที่มีการมอบอำนาจ

       4.  หลักฐานประกอบการพิจารณา เช่น ประวัติการรักษา, รูปถ่ายขณะได้รับความเสียหาย

 

วิธียื่นคำร้อง

       การยื่นคำร้องทำได้ 2 วิธี คือ

       1.  ยื่นคำร้องด้วยตนเองที่หน่วยรับคำร้อง

       2.  ส่งคำร้องทางไปรษณีย์ลงทะเบียน โดยคณะกรรมการจะถือวันที่ประทับตราเป็นวันที่ยื่นคำร้อง

 

เกณฑ์การพิจารณา

       ผู้มีอำนาจพิจารณาคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ได้แก่ คณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นซึ่งมีอยู่ในทุกจังหวัด

       คณะกรรมการดังกล่าวจะทำหน้าที่พิจารณาว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ผู้รับบริการควรได้รับเงินช่วยเหลือตามข้อบังคับหรือไม่เพียงใด หากควรได้รับเงินช่วยเหลือก็จะพิจารณาโดยคำนึงถึงความรุนแรงของความเสียหายและเศรษฐานะของผู้เสียหายด้วย โดยมีขั้นตอน ดังนี้

       1.  พิจารณาตามเกณฑ์ที่กำหนดในข้อบังคับ คือ

            •  ผู้รับบริการต้องเป็นผู้มีสิทธิตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และเป็นผู้ได้รับความเสียหาย

            •  ความเสียหายที่เกิดขึ้นต้องเป็นความเสียหายที่เกิดจากการให้บริการสาธารณสุข

            •  ต้องเป็นการให้บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ

            •  ความเสียหายที่เกิดจากการให้บริการสาธารณสุข ต้องไม่เกิดจาก

                -  การดำเนินไปตามพยาธิสภาพโรค

                -  เหตุแทรกซ้อนของโรคที่เป็นไปตามสภาพปกติธรรมดาของโรคนั้น และได้มีการวินิจฉัยและรักษาตามมาตรฐานทั่วไป

            •  ต้องยื่นคำร้องภายใน 1 ปี นับจากทราบความเสียหาย

            •  ไม่ต้องรอพิสูจน์ถูกผิด หรือผลพิสูจน์ทางการแพทย์

       2.  พิจารณาถึงประเภทของความเสียหาย

       3.  พิจารณาถึงความรุนแรงและเศรษฐานะของผู้เสียหาย

 

การแจ้งผลการพิจารณา

       เลขานุการของคณะอนุกรรมการจะมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา ให้ผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหายหรือทายาททราบพร้อมแจ้งสิทธิในการยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน หลังได้รับหนังสือแจ้งผลทางไปรษณีย์ตอบรับ

 

การอุทธรณ์

       หากผู้รับบริการหรือทายาทที่ยื่นคำร้อง ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการ สมารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน หลังได้รับแจ้ง โดยวิธีการและสถานที่ยื่นคำร้อง เหมือนกับการยื่นคำร้องครั้งแรก โดยสำนักงานสาขาจะนำคำร้องอุทธรณ์และผลการวินิจฉัยครั้งแรกส่งมาที่ สปสช.เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นผู้พิจารณา โดยมีสาระสำคัญของการอุทธรณ์ดังนี้

       1.  ชื่อผู้อุทธรณ์

       2.  วันที่ทราบผลการวินิจฉัย

       3.  เหตุผลที่ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัย

       4.  สถานที่ที่สามารถติดต่อผู้ยื่นอุทธรณ์ได้โดยเร็ว

       หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล ตามมาตรา 41

       ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรับบริการของหน่วยบริการ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมมากยิ่งขึ้นและสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย โดยแก้ไขในมาตรา 18(7) และมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 โดยในข้อบังคับข้อที่ 5 ระบุไว้ว่า ความเสียหายที่เกิดจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ ที่จะเป็นเหตุให้ได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามข้อบังคับนี้ ให้รวมถึงเหตุสุดวิสัยในระบบการรักษาพยาบาล แต่มิใช่เป็นความเสียหายที่เกิดจากการดำเนินไปตามพยาธิสภาพหรือเหตุแทรกซ้อนของโรคที่เป็นไปตามสภาพปกติธรรมดาของโรคนั้นอยู่แล้ว จึงกำหนด ประเภทของความเสียหายตาม ประเภทของความเสียหายที่เกิดจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการและอัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแบ่งเป็น

       (1)  เสียชีวิต หรือทุพพลภาพอย่างถาวร หรือเจ็บป่วยเรื้องรังที่ต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิตและมี ผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการดำรงชีวิต จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ ตั้งแต่ 240,000 บาท แต่ไม่เกิน 400,000 บาท

       (2)  สูญเสียอวัยวะหรือพิการ ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ ตั้งแต่ 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 240,000 บาท

       (3)  บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น จ่ายไม่เกิน 100,000 บาท

 

       กรณีมีการฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องและได้รับการดูแลตามมาตรฐานการฝากครรภ์จนอายุครรภ์ตั้งแต่ 37 สัปดาห์ขึ้นไป และทารกเสียชีวิตในครรภ์ระหว่างการดูแลในหน่วยบริการ ให้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้เท่ากับอัตราที่กำหนดในวรรคหนึ่ง (1) และหากมารดาได้รับความเสียหายอื่นด้วย ก็ให้ได้รับเงินช่วยเหลือได้อีกตามประเภทความเสียหายที่ได้รับนั้น

สิทธิในการเข้าถึงบริการในกรณีฉุกเฉิน

สิทธิในการเข้าถึงบริการในกรณีฉุกเฉิน

       การเจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประเทศไทย โดยมีผู้ป่วยฉุกเฉินสูงถึง 4 ล้านคนต่อปี ซึ่งในจำนวนนี้มีประมาณ 60,000 คน ที่เสียชีวิตนอกโรงพยาบาล ความสูญเสียจากการเจ็บป่วยฉุกเฉินก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจมหาศาล จากการศึกษาความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจจากอุบัติเหตุจราจรบนท้องถนน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเจ็บป่วยฉุกเฉินในปี พ.ศ. 2543 - 2545 พบว่ามูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจ มีจำนวนถึง 106,994 - 115,337 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2 - 2.3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ สำหรับโรคคลอดเลือดสมอง มีอัตราการเสียชีวิตเป็นลำดับที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 24.3 ต่อแสนประชาชน ในปี พ.ศ. 2550 และมีแนวโน้วเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีพบว่าเพียงร้อยละ 10 ของจำนวนผู้ป่วยโรคนี้เท่านั้นที่เข้าถึงการบริการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที

       ในขณะที่ปัจจุบัน ประชาชนคนไทยทุกคนมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาล ตามโรงพยาบาลหรือหน่วยบริการต่างๆ ที่กำหนดในระบบหลักประกันสุขภาพแต่ละระบบ และหากเจ็บป่วยฉุกเฉินก็สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดโดยไม่ต้องเสียเงิน อีกทั้งรัฐบาลได้ประกาศใช้นโยบาย "เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน" โดยมุ่งหมายให้ทุกคน สามารถรับบริการที่ใดก็ได้โดยไม่ต้องสำรองจ่ายล่วงหน้า

       อย่างไรก็ตาม การใช้สิทธิเข้ารับการรักษากรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินตามสิทธิของแต่ละระบบ และตามนโยบายของรัฐบาลยังมีปัญหาในทางปฏิบัติอยู่มาก ปัญหาที่พบมากที่สุดคือโรงพยาบาลเรียกเก็บเงินจากผู้ป่วย หรือปฏิเสธการรักษา โดยอ้างว่าไม่เข้าข่ายการเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือหากเข้าช่วยเจ็บป่วยฉุกเฉิน ก็จะมีปัญหาว่าโรงพยาบาลไม่มีเตียง ไม่สามารถรับเข้ารักษาได้ แม้ประสานหาเตียงในโรงพยาบาลอื่น ก็ยังไม่มีเตียงสำรอง

นิยามความเจ็บป่วยฉุกเฉิน

นิยามความเจ็บป่วยฉุกเฉิน

       หมายถึง การได้รับอุบัติเหตุหรือมีอาหารเจ็บป่วยกะทันหัน ซึ่งเป็นภยันตรายต่อการดำรงชีวิตหรือการทำงานของอวัยวะสำคัญ จำเป็นต้องได้รับการประเมินการจัดการและบำบัดรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันการเสียชีวิตหรือการรุนแรงขึ้นของการบาดเจ็บหรืออาการเจ็บป่วยนั้น ทั้งนี้หน่วยปฏิบัติการสถานพยาบาลและผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินได้มีหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อคัดแยกระดับความรุนแรงของการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ดังนี้

       1.  ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ได้แก่ บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหันซึ่งมีภาวะคุกคามต่อชีวิต ซึ่งหากไม่ได้รับปฏิบัติการแพทย์ทันทีเพื่อแก้ไขระบบการหายใจ ระบบไหลเวียนหรือระบบประสาทแล้ว ผู้ป่วยจะมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง หรือทำให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้อย่างฉับไว หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่าฉุกเฉินวิกฤต เป็นภาวะที่คุกคามต่อชีวิตต้องให้การช่วยเหลืออย่างรีบด่วน ผู้ป่วยต้องไปรับการตรวจรักษาทัน มิฉะนั้นผู้ป่วยจะเสียชีวิตหรือพิการอย่างถาวรในเวลาไม่กี่นาที ซึ่งผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตที่ต้องได้รับการวินิฉัยและให้การตรวจรักษาทันที กลุ่มนี้โดยใช้สัญลักษณ์ "สีแดง" ดังตัวอย่างเช่น

            1)  ภาวะ "หัวใจหยุดเต้น" (Cardiac arrest)

            2)  ภาวะหยุดหายใจ

            3)  ภาวะ "ช็อก" จากการเสียเลือดรุนแรง

            4)  ชักตลอดเวลาหรือชักจนตัวเขียว

            5)  อาการซึม หมดสติ ไม่รู้สึกตัว

            6)  อาการเจ็บหน้าอกรุนแรงจากหลอดเลือดหัวใจตีบตันที่มีความจำเป็นต้องได้รับยาละลายลิ่มเลือด

            7)  อาการทางสมองจากหลอดเลือดสมองตีบตันทันทีมีความจำเป็นต้องได้รับยาละลายลิ่มเลือด

            8)  เลือดออกมากอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา เป็นต้น

            ทั้งนี้ในการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินให้ถือตามมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ

       2.  ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน ได้แก่ บุคคลที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยซึ่งมีภาวะเฉียบพลันมาก หรือเจ็บป่วยรุนแรงอาจจำเป็นต้องได้รับปฏิบัติการแพทย์อย่างเร่งด่วน มิฉะนั้นจะทำให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น ซึ่งส่งผลให้เสียชีวิตหรือพิการในระยะต่อมาได้ หรือกล่าวได้ว่าฉุกเฉินเร่งด่วนเป็นภาวะที่ต้องการช่วยเหลือโดยเร็ว รอได้บ้างแต่ไม่นาน เป็นภาวะที่ผู้ป่วยต้องการช่วยเหลือทางการรักษาพยาบาลจัดเป็นอันดับรองจากกลุ่มแรก ผู้ป่วยประเภทนี้ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่ให้การดูแลรักษาพยาบาลอย่างถูกต้อง ก็อาจทำให้สูญเสียชีวิตหรือพิการได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ผู้ป่วยประเภทนี้จะมีอาการหรืออาการแสดงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง โดยใช้สัญลักษณ์ "สีเหลือง" ดังตัวอย่าง เช่น

            1.  หายใจลำบากหรือหายใจเหนื่อยหอบ

            2.  ชีพจรช้ากว่า 40 หรือเร็วกว่า 150 ครั้ง/นาที โดยเฉพาะถ้าร่วมกับลักษณะทางคลินิกข้ออื่น

            3.  ไม่รู้สึกตัว ชัก อัมพาต หรือตาบอด หูหนวกทันที

            4.  ตกเลือด ซีดมากหรือเขียว

            5.  เจ็บปวดมากหรือทุรนทุราย

            6.  มือเท้าเย็นซีด หรือเหงื่อแตก ร่วมกับลักษณะทางคลินิกอื่น

            7.  ความดันโลหิตตัวบนต่ำกว่า 90 มม.ปรอทหรือตัวล่างสูงกว่า 130 มม.ปรอท โดยเฉพาะร่วมกับลักษณะทางคลินิกข้ออื่น

            8.  อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่า 35'c หรือสูงกว่า 40'c โดยเฉพาะร่วมกับลักษณะทางคลินิกข้ออื่น

            9.  ถูกพิษหรือ Drug overuse

          10.  ได้รับอุบัติเหตุ โดยเฉพาะบาดแผลที่ใหญ่มากและมีหลายแห่ง เช่น major multiple fractures, Burns, Back injury with or without spinal cord damage

          11.  ภาวะจิตเวชฉุกเฉิน เป็นต้น

            ทั้งนี้ในการปฏิบัติทางการแพทย์ฉุกเฉินให้ถือตามมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ

       3.  ผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง ได้แก่ บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยซึ่งมีภาวะเฉียบพลันไม่รุนแรงอาจรอรับปฏิบัติการแพทย์ได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งหรือเดินทางไปรับบริการสาธารณสุขด้วยตนเองได้ แต่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรและหากปล่อยใว้เกินเวลาอันสมควรแล้วจะทำให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ ให้ใช้สัญลักษณ์ "สีเขียว"

       ทั้งนี้นิยามและหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยอาการฉุกเฉินใช้อ้างอิงตามพระราชบัญญัติ การแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 และประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่องหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อคัดแยกระดับความฉุกเฉินและมาตรฐานการปฏิบัติการฉุกเฉิน พ.ศ. 2554 และประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินเรื่องข้อกำหนดว่าด้วยสถานพยาบาล พ.ศ. 2554 

       ดังนั้น เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถใช้สิทธิในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินได้อย่างแท้จริง โดยไม่ต้องเสียเงิน ผู้ที่เกี่ยวข้องควรปฏิบัติดังนี้

 

1.  กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน

       1)  ต้องเตรียมบัตรประจำตัวประชาชนผู้ป่วยไปด้วยทุกครั้ง ถ้าอยู่ในวิสัยที่ทำได้

       2)  เข้าโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หากเลือกได้ ขอให้เป็นโรงพยาบาลของรัฐ เพราะโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพ

       3)  ยื่นบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ป่วย (ถ้ามี) พร้อมแจ้งการขอใช้สิทธิฉุกเฉินกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล หากไม่มีบัตรประชาชน ให้แจ้งชื่อ-สกุลผู้ป่วย แล้วรีบนำบัตรประชาชนมายื่นภายหลัง

       4)  หากโรงพยาบาลเรียกเก็บเงิน ให้ยืนยันการใช้สิทธิฉุกเฉินตามสิทธิที่มี และอ้างนโยบายรัฐบาล แต่หากเจ้าหน้าที่ยังยืนยันจะเก็บเงิน ซึ่งส่วนใหญ่อ้างว่าเป็นเงินมัดจำ แล้วจะคืนให้เมื่อเบิกจาก สปสช.ได้ ให้โทรไปสายด่วน 1330 สปสช. เพื่อให้เจรจากับโรงพยาบาล

       5)  เมื่อแพทย์แจ้งว่าผู้ป่วยพ้นวิกฤตและสามารถเคลื่อนย้ายได้แล้ว ให้ประสานโรงพยาบาลตามสิทธิเพื่อย้ายผู้ป่วยเข้ารับการรักษาต่อเนื่อง

       6)  หากได้รับความเสียหายในการใช้สิทธิ สามารถแจ้งเรื่องได้ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. สายด่วน 1330 และกรณีอยู่ต่างจังหวัด ให้แจ้งเรื่องไปที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.)

       7)  กรณีได้รับความเสียหายจากการรับบริการ ผู้มีสิทธิบัตรทอง สามารถยื่นเรื่องขอรับการเยียวยาความเสียหาย จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามมาตรา  41 ภายในระยะเวลา 1 ปี นับ แต่วันที่ทราบถึงความเสียหาย

 

2.  กรณีฉุกเฉินจากการได้รับอุบัติเหตุ

       2.1  ได้รับอุบัติเหตุทั่วไป (ตกต้นไม้ / ลื่นล้ม / ถูกทำร้าย...)

               -  ให้ปฏิบัติตามแนวทางเช่นเดียวกับการเจ็บป่วยฉุกเฉิน

       2.2  ได้รับอุบัติเหตุจากรถ

               -  ให้ใช้สิทธิตาม พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยปฏิบัติตามแนวทางในตารางที่แนบ

               -  ผู้ประสบอุบัติเหตุจากรถ ต้องใช้สิทธิภายใน 180 วัน นับแต่วันที่มีความเสียหายเกิดขึ้น 

 พิมพ์  อีเมล