2nd benefit

2nd benefit

เอ็นจีโออาเซียน กังวลเวทีอาเซียนภาคประชาชน โดนบล็อค


11 ชาติสมาชิกอาเซียนภาคประชาชน กังวลจัดเวทีคู่ขนาน อาเซียนซัมมิท อาจถูกบล็อค – จับกุม ภาคประชาสังคมไทย การันตีความปลอดภัยปราศจากการคุกคาม เพราะจัดร่วมภาครัฐ สถาบันการศึกษา มั่นใจรัฐบาลไม่กล้าจุ้น

 เมื่อวันที่ 2 พ.ค.ที่โรงแรมบางกอกชฎา ตัวแทนภาคประชาสังคม 11 ชาติอาเซียน จัดเวทีหารือการเตรียมการประชุมภาคประชาสังคมอาเซียน ซึ่งเป็นเวทีคู่ขนานกับการประชุมอาเซียนซัมมิท ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการประชุมในครั้งนี้จะมีภาคประชาสังคมกว่าพันคนเข้าร่วมงานกว่าพันคน อย่างไรก็ตามในการหารือตัวแทนภาคประชาสังคมอาเซียน แสดงความกังวลประเด็นความปลอดภัยในการเข้าเมือง หรืออาจถูกบล็อคหรือถูกจับกุมระหว่างเข้าร่วมงาน จึงเสนอให้ทางภาคประชาสังคมไทยจัดเตรียมทนายความคอยให้ความช่วยเหลือที่สนามบิน พร้อมคณะทำงานออกแถลงการณ์ตอบโต้การกระทำของรัฐบาลหากมีการจับกุมนักเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมอาเซียน


ตัวแทนประเทศสิงคโปร์ กล่าวว่าปัญหาด้านความมั่นคงสำคัญมาก ตั้งแต่ด่านการตรวจคนเข้าเมือง เพราะนักเคลื่อนไหวบางคนอาจถูกบล็อค ดังนั้นจึงควรมีการออกแถลงการณ์ต่อต้านทันที และ ระบบการลงทะเบียนต้องมีความปลอดภัย เพราะอาจถูกคุกคามจากฝ่ายความมั่นคงผ่านการตรวจสอบ หรือระหว่างการประชุมอาจมีการถ่ายวีดีโอ หรือบันทึกภาพจากเจ้าหน้าที่รัฐ ดังนั้นหลักกฎเกณฑ์ในการเข้าร่วมประชุม ต้องมีการตรวจสอบว่าบุคคลที่เข้าร่วมมีตัวตนจริงหรือไม่ และ หากบุคคลที่ไม่ได้ติดต่อหรือลงทะเบียนล่วงหน้า เข้าร่วมงานไม่ควรอนุญาตให้เข้า อย่างไรก็ตามข้อมูลการลงทะเบียนทางออนไลน์มีความอ่อนไหวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล หรือต้องเปิดเผยได้หรือไม่หรือเปิดได้มากน้อยเพียงใด

ตัวแทนประเทศเมียร์นมา กล่าวว่าสิ่งที่กังวล คือรัฐบาลเมียร์นมา แม้จะไม่ห้ามหรือบล็อคการเข้าร่วมเข้าประชุม แต่ทางรัฐบาลจะอ่อนไหวต่อปัญหา โรงฮิงญา ที่ห้ามเคลื่อนไหวเรื่องนี้ทั้งในหรือต่างประเทศ ส่วนตัวแทนภาคประชาสังคมจากประเทศมาเลเซีย เสนอว่าในการจัดเวทีประชาสังคมอาเซียน ก่อนการจัดงานต้องมีการเจรจากับรัฐบาลก่อนว่า อย่าบล็อคตัวแทนภาคประชาสังคมที่เข้าร่วมงาน พร้อมกับจัดทีมนักกฎหมายจากสภาทนายความ เพื่อเตรียมพร้อม หากเจ้าหน้าที่รัฐจับกุมตัวแทนภาคประชาสังคม ถือเป็นมาตรการเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้เข้าร่วมประชุม



“เรากังวลระหว่างประชุม ต้องตรวจสอบสันติบาลเช่นกันว่าเป็นตัวจริงหรือไม่ เพราะนักปกป้องสิทธิมนุษยชนต้องได้รับการปกป้อง หรือต้องมีกลไกในการช่วยเหลือ เช่น ทนายความ การออกแถลงการณ์ เร่งด่วนทันที เพื่อให้ความคุ้มครองผู้เข้าร่วม หมายความว่าต้องพยายามผลักดันส่งเสริมให้มีกลไกในทางกฎหมายระหว่างประเทศเลยด้วยซ้ำ” ตัวแทนมาเลเซีย กล่าว

น.ส.ชลิดา ทาเจริญศักดิ์ ตัวแทนคณะกรรมการจัดงานประเทศไทย ในฐานะเจ้าภาพ กล่าวว่าอยากให้สมาชิกประชาสังคมอาเซียน มั่นใจว่าเวทีการจัดประชุมของไทยในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุน และเป็นการจัดงานร่วมกับนักวิชาการ สถาบันการศึกษา คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมเป็นเจ้าภาพที่สำคัญกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)ให้การสนับสนุนงบประมาณ และร่วมเป็นคณะทำงาน ดังนั้นเพื่อความมั่นใจ ก่อนการจัดงานได้ส่งจดหมายอย่างเป็นทางการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่อแจ้งให้ทราบล่วงหน้าจะมีการจัดเวทีอาเซียนภาคประชาชน จากนั้นจะนำจดหมายเชิญส่งไปยังแก่ผู้เข้าร่วมประชุมที่จะเข้าร่วมงานได้นำจดหมายดังกล่าวมายืนยันกับทางการไทย พร้อมกับตั้งคณะทำงานให้การต้อนรับถึงสนามบินตั้งแต่มาและกลับ

 

“ในฐานะประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมอาเซียนภาคประชาชนในครั้งนี้ ขอให้มั่นใจว่าไม่มีเหตุการณ์บล็อคหรือจับนักเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมแน่นอน เพราะสามารถพูดคุยกับรัฐบาลได้ แต่หากภาคประชาสังคมถูกคุกคาม หรือ ถูกจับจริงๆจะมีการออกแถลงการณ์ทันทีและตามด้วยความช่วยเหลือต่างๆ เพื่อไม่ให้ภาครัฐคุกคามสิทธิมนุษยชนของนักเคลื่อนภาคประชาสังคมอย่างแน่นอน” น.ส.ชลิดา กล่าว

ข้อมูลจาก www.springnews.co.th