2nd benefit

2nd benefit

เหตุผลที่ประมูล 4Gไม่กระทบราคาและคุณภาพของผู้บริโภค

saree-300x254

น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเืพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ราคาประมูลจบลงด้วยมูลค่ารวมจำนวน 80,778 ล้านบาทต่อระยะเวลา 18 ปี เฉลี่ยต่อใบอนุญาตของAIS ปีละ 2,277 ล้านบาท และของ TRUE ปีละ 2,210.66 ล้านบาทหากรวมสองบริษัทจ่ายเพียง 4,487.66 ล้านบาทต่อปีเท่านั้น

ต่างจากมูลค่าที่สามบริษัทจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้ทศท. และกสท. ที่สูงถึง 40,000 ล้านบาทต่อปี หรือสามารถพิจารณาจากการจ่ายสาวนแย่งรายได้ของ AIS จำนวนประมาณ 9,600 ล้านบาทต่อปี หรือของ TRUE ที่จ่าย 4,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นรายจ่ายที่นอกเหนือจากการลงทุน การทำการตลาด หรือค่าใช้จ่ายในการบริหารอื่นๆ 

ดังนั้นราคาการประมูลในครั้งนี้ไม่มากกว่าการจ่ายของทั้งสองบริษัท ย่อมไม่เป็นเหตุให้ส่งผลกระทบต่อราคาค่าบริการของผู้บริโภค และคุณภาพบริการแน่นอน เพราะต้นทุนของบริษัทไม่ได้เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ยังมึหลักประกันจากเงื่อนไขใบอนุญาตในการประมูล เรื่องอัตราค่าบริการ“ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่านความถี่ 1800”

“ข้อ 21 (5) ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีบริการที่เป็นธรรม ซึ่งรวมถึงการกำหนดอัตราค่าบริการที่สมเหตุสมผล ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค มีความชัดเจน และการให้บริการที่มีคุณภาพ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด ทั้งนี้ ผู้รับใบอนุญาตจะต้องกำหนดอัตราค่าบริการสำหรับบริการเสียงและบริการข้อมูลโดยเฉลี่ยแล้วต้องต่ำกว่าอัตราค่าบริการเฉลี่ยของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้คลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz ณ วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ โดยผู้รับใบอนุญาตจะต้องจัดให้มีรายการส่งเสริมการขายอย่างน้อยหนึ่งรายการที่ส่งเสริมและเพิ่มโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงบริการโทรคมนาคมเคลื่อนที่ที่ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz โดยมีอัตราค่าบริการต่ำกว่าอัตราค่าบริการเฉลี่ยของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้คลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz ณ วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ รวมทั้งจะต้องคิดอัตราค่าบริการตามการใช้งานจริง และมีคุณภาพการให้บริการไม่ต่ำกว่าคุณภาพการให้บริการเฉลี่ยของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้คลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz ทั้งนี้ จนกว่าคณะกรรมการจะประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลอัตราค่าบริการและคุณภาพการให้บริการเป็นอย่างอื่น”

แต่การประมูลครั้งนี้ ผู้บริโภคเงียบเหงาไม่ตื่นเต้น เพราะผิดหวังจากบริการ 3G บริการ3G ที่ควรจะรวดเร็วในการใช้อินเตอร์เน็ต พบว่าการใช้งานจริงในแต่ละเดือนหลังจากใช้ไปไม่กี่วันบริการ3G แบบไม่จำกัดปริมาณการใช้ข้อมูล (Unlimited) เปลี่ยนความเร็วเป็น E หรือน้อยกว่า 256 Kbps ทั้งๆ ที่กสทช.กำหนดให้ทุกบริษัทต้องรับประกันความเร็วไว้ที่ 345 Kbps แต่ก็ไม่สามารถบังคับบริษัทให้สามารถให้บริการได้ตามนั้น

ส่วนเงื่อนไขความเร็วในการประมูลครั้งนี้ถูกกำหนดไว้ว่า ความเร็วของ 4G ต้องไม่น้อยกว่า 3G ขณะที่ในหลายประเทศกำหนดให้รับประกันความเร็ว4Gไว้อย่างน้อย 10 เท่าของ 3G นั่นคือความเร็วใน 4G ไม่ควรน้อยกว่า 3 Mbps

ความทุกข์ของผู้บริโภคที่สำคัญนอกเหนือจากราคาและคุณภาพบริการแล้วยังมีปัญหา บริการเสริมจากการถูกคิดค่าบริการดูดวง ทายหวย โหลดเพลง โหลดภาพโดยไม่ได้สมัครสมาชิก และความกังวลปัญหาสุขภาพจากเสาส่งสัญญาณโทรคมนาคม ที่กสทช. ยังไม่สามารถบังคับให้บริษัททำความเข้าใจกับชุมชนที่จะมีการไปติดตั้ง นำมาซึ่งปัญหาการร้องเรียน ฟ้องร้องกับประชาชนชุมชนมากมาย แถมสำนักงานกสทช.ยังช่วยทำประชาสัมพันธ์ให้เห็นว่าคลื่นไม่เป็นอันตรายทั้งๆที่องค์การอนามัยโลกได้ออกมายืนยันแล้วว่าคลื่นเป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม 2B

ระเบิดลูกสุดท้ายตอนนี้ ผู้ใช้บริการ 2G หากไม่เปลี่ยนมือถือ(อุปกรณ์)ให้สามารถใช้ได้กับคลื่น3G ก็ไม่สามารถใช้โทรศัพท์ได้ การขอเงินคืนจากบริษัทก็ต้องไปในจังหวัดไม่มีบริการในอำเภอ แต่เวลาให้บริการใช่ได้ทุกที่แม้แต่ในหมู่บ้านเล็ก มูลค่าความเสียหายแต่ละคนไม่มากอาจจะแค่คนละ 10-20 ถึงไม่เกินร้อยบาท ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่เหลือ แต่หากรวมๆกันแล้วก็เป็นหลายร้อยล้านบาท

ประมูลเสร็จแล้วก็ขอให้กสทช. ทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมายให้จริงจัง คุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับบริการราคาต่ำกว่า 3G ไม่แพง มีคุณภาพบริการตามที่รับประกัน สามารถคิดราคาตามการใช้งานจริงเป็นวินาที ให้ได้ซะที คงจะได้เสียงชื่นชมไม่น้อย

 

ข่าวบทความเนื้อหาใกล้เคียงกัน:

|

Tags: กสทช.,, 4G , ประมูลคลื่น 1800, 3G , สารี อ๋องสมหวัง