2nd benefit

2nd benefit

  • หน้าแรก

5 เทคนิค ช็อปออนไลน์ ให้ได้ของถูกใจและไม่เจ็บตัว

 

online buy2

 

ทุกวันนี้ การซื้อของผ่านอินเทอร์เน็ต กลายเป็นเรื่องปกติของสังคมไทยไปแล้ว ด้วยความที่มันสะดวก รวดเร็ว อยู่ที่ไหน ก็ซื้อขายกันได้ ชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ แล้วก็รอรับสินค้าให้มาส่งถึงบ้านได้เลย จะซื้ออะไร ก็มีทั้งนั้น เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า ขนม อาหาร เครื่องสำอาง เครื่องใช้ไฟฟ้า อะไหล่รถยนต์ สัตว์เลี้ยง ต้นไม้ ฯลฯ

ดังนั้น จึงขอแนะนำ 5 เทคนิคในการช็อปออนไลน์กัน

    1 . ตรวจสอบตัวตน ความน่าเชื่อถือของคนขาย ร้านค้า ให้แน่ใจว่า มีตัวตนอยู่จริง ก็ดูจากชื่อ – นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ หรือ ทะเบียนการค้า และถ้าจะให้ชัวร์ ก็ควรเช็ค ประวัติของคนขาย ว่าเขาเป็นใคร                         เคยทำอะไรมาบ้าง โดยพิมพ์ ชื่อ หรือ เบอร์โทรศัพท์ ค้นหา ใน google แป๊บเดียว ก็จะมีข้อมูลบอกหมดว่า เขาเป็นยังไง ถ้าเคยมีประวัติเสีย โกงลูกค้า นิสัยไม่ดี รับรองต้องมีคนโพสต์แฉแน่นอน

  1. สอบถามลูกค้าเก่า ให้เล่าความจริง จากประสบการณ์ตรงของคนที่เคยใช้สินค้า จะช่วยยืนยันว่าของที่ขายนั้น คุณภาพเป็นอย่างไร บริการของร้านค้าดีหรือไม่ เมื่อก่อน หลายคนอาจจะตัดสินใจซื้อขาย โดยดูจากยอดกด Like ถูกใจร้านค้า แต่เดี๋ยวนี้ ลำพังยอด Like ก็ไว้ใจไม่ได้อีก เพราะมีการปั่นยอดกันได้ ทางที่ดีต้องดูจาก รีวิว หรือ ฟีดแบ็ค ของลูกค้าเก่า ประกอบกันด้วย
  2. ปลอดภัยกว่า ถ้าจ่ายผ่านบัตรเครดิต การชำระเงินค่าสินค้า ถ้าคนขายมีให้เลือกหลายช่องทาง การชำระด้วยบัตรเครดิต จะปลอดภัยกว่าการโอนเงินสดเข้าบัญชีผู้ขาย เพราะสามารถระงับการจ่ายเงินกับบริษัทบัตรเครดิตได้ หากสินค้าไม่ได้รับสินค้า หรือ มีปัญหาไม่ตรงตามสเปคที่ตกลงซื้อขายกัน
  3. เก็บหลักฐาน การซื้อขาย ที่สำคัญ ได้แก่ ข้อมูลผู้ขาย ชื่อ สกุล ที่อยู่ เบอร์ติดต่อ หมายเลขบัญชี , ข้อมูลสินค้า สเปค ขนาด จำนวน คุณสมบัติ และ หลักฐานการโอนเงิน โดยคุณสามารถ บันทึกภาพหน้าจอ (print screen) ภาพสินค้าในเว็บไซต์ หรือ ข้อความที่แชทคุย ผ่านทาง Line กับผู้ขาย ไว้เป็นหลักฐานได้
  4. ร้องทุกข์ 1 ครั้ง ดีกว่าบ่น 1,000 ครั้ง ถ้าหากเกิดปัญหาจากการซื้อของออนไลน์ อย่าลังเลที่จะใช้สิทธิของคุณในการร้องเรียน เพื่อให้ผู้ขายรับผิดชอบ เพราะนอกจากคุณจะได้รับการแก้ไขปัญหาแล้ว ประสบการณ์ของคุณจะเป็นบทเรียนให้กับผู้บริโภคคนอื่น ๆ ด้วย

                เว็บไซต์ ซื้อขายออนไลน์ ที่มีมาตรฐาน จะมีช่องทางในการติดต่อเพื่อร้องเรียนปัญหาจากการซื้อขาย และทำหน้าที่เป็นคนกลางในการเจรจา แก้ไขปัญหาระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ส่วนร้านค้าอิสระบน Facebook , IG นั้น ก็ติดต่อร้องเรียนไปที่เจ้าของร้านโดยตรงเลย ถ้าเป็นเจ้าของธุรกิจจริง ไม่ใช่มิจฉาชีพ ที่ตั้งใจมาหลอก ผมว่า เขาต้องรีบแก้ไขปัญหา รักษาชื่อเสียงของเขาไว้ เพราะในโลกออนไลน์ “เสียงของผู้บริโภค” นั้น มีค่าจริง ๆ ถ้าร้านไหน ลูกค้าประทับใจ ก็จะบอกต่อ ๆ กันไปกลายเป็นกระแส รับทรัพย์นับเงินกันไป ส่วนร้านไหน ไม่ดูแลลูกค้า มีปัญหาแล้วไม่ปรับปรุงแก้ไข ลูกค้าก็จะบอกต่อ ๆ กันไปเช่นกัน ร้านนี้ก็เตรียมปิดกิจการ ได้เลย

ขอบคุณข้อมูลจาก นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  

- ข้อมูลจาก นิตยสารฉลาดซื้อ ฉบับที่ 197 5 เทคนิค ช็อปออนไลน์ ให้ได้ของถูกใจและไม่เจ็บตัว https://chaladsue.com/article/2621

- ข้อมูลเพิ่มเติม นิตยสารฉลาดซื้อ ฉบับที่ 202 สินค้าออนไลน์ สดใหม่แค่ไหน https://chaladsue.com/article/2727

- ข้อมูลเพิ่มเติม นิตยสารฉลาดซื้อ ฉบับที่ 202 ซื้อสินค้าทางออนไลน์ ซื้อง่าย แต่ห้ามจ่ายเร็ว https://chaladsue.com/article/2726

- ข้อมูลเพิ่มเติม นิตยสารฉลาดซื้อ พฤติกรรมชาวกรุง กับการ Shopping Online   https://chaladsue.com/article/2763

- ข้อมูลเพิ่มเติม นิตยสารฉลาดซื้อ ฉบับที่ 197 ซื้ออาหารเสริมลดน้ำหนักออนไลน์   https://chaladsue.com/article/2608

ประกันภัยทางโทรศัพท์ ยกเลิกอย่างไร

callcenter

ด้วยความต้องการให้ธุรกิจประกันภัยขยายตัวได้รวดเร็ว จึงมีการอนุญาตให้มีการขายประกันภัยทางโทรศัพท์ได้ ความเสี่ยงจึงตามมาที่ผู้บริโภค เมื่อเผลอตกลงรับปากทางโทรศัพท์โดยไม่ตั้งใจไปแล้ว อยากจะเปลี่ยนใจยกเลิก มักถูกปฏิเสธ

เนื้อหาอื่นๆ...