test protect push open

fb icontw icong plus iconyt icon

test protect push open

fb icontw icong plus iconyt icon

เอายาปฏิชีวนะ ออกจากอาหารของเรา


ปัจจุบัน ๕๐% ของยาปฏิชีวนะทั่วโลก ถูกใช้ในทางการเกษตร ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยา และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากภาวะติดเชื้อและการเจ็บป่วยเล็กน้อยซึ่งเคย รักษาได้ในอดีต



คนตายปีละ ๓๘๔๘๑ คน คนป่วยเป็นแสน สูญเสียทางเศรษฐกิจ ๔๐,๐๐๐ ล้านบาทต่อปี

กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผย ปัจจุบันปัญหาการดื้อยาของเชื้อจุลชีพที่ทำให้เกิดโรคมีแนวโน้มสูงขึ้น เรื่อยๆ สาเหตุสำคัญมาจากการใช้ยาปฏิชีวนะที่มากขึ้น ทั้งการใช้อย่างไม่จำเป็นและเกินความจำเป็น โดยมูลค่าการใช้ยาปฏิชีวนะของคนไทยมากกว่า ๑๐,๐๐๐ ล้านบาทต่อปี และมีการติดเชื้อชนิดที่ดื้อยาปฏิชีวนะปีละกว่า ๑๐๐,๐๐๐ คน มีผู้ป่วยติดเชื้อชนิดดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ๕ ชนิด เสียชีวิต ๓๘,๔๘๑ ราย แซงโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด มูลค่าสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรปีละกว่า ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้ยาปฏิชีวนะตัวเก่าที่เคยใช้ ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ผู้ป่วยบางรายต้องเปลี่ยนใช้ยาตัวใหม่ซึ่งมีราคาแพงมาก เชื้อดื้อยาบางชนิดไม่มียารักษาที่มีประสิทธิผลดีและปลอดภัย ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มขึ้น ใช้เวลารักษานานขึ้นและโอกาสเสียชีวิตสูง ผลเสียต่อไปหากเชื้อชนิดนี้แพร่ไปสู่ผู้ป่วยรายอื่นและเกิดการระบาดในชุมชน จะมีผลทำให้โรคติดต่อที่เคยควบคุมได้กลับมาระบาดมากขึ้น นอกจากนี้ เชื้อดื้อยายังสามารถถ่ายทอดรหัสพันธุกรรมดื้อยาไปสู่เชื้อสายพันธุ์อื่นทำ ให้ปัญหาการดื้อยาทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นนี้

วันที่ ๑๕ มีนาคมของทุกปี ถือเป็น “วันสิทธิผู้บริโภคสากล” World Consumer Rights Day ซึ่งปีนี้สหพันธ์ผู้บริโภคสากล (Consumers International หรือ CI)[1] ร่วมกับองค์กรผู้บริโภคทั่วโลก เรียกร้องให้ได้ให้ความสำคัญเรื่องอาหารปลอดภัยและรณรงค์“เอายาปฏิชีวนะ ออกจากอาหารของเรา ” (Antibiotics Off the Menu)  เพื่อลดอันตรายจากเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ รวมทั้งลด ละ เลิกการใช้ยาปฏิชีวนะในการกระบวนการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหาร

 พิมพ์  อีเมล

การแถลงข่าวคณะกรรมการองค์การอิสระฯ

ลูกหนี้ เฮ พรบ.ทวงหนี้ ผ่านฉลุย ลดข่มขู่คุกคาม

 สนช.ไฟเขียว พรบ.ทวงหนี้ ครอบคลุมลูกหนี้ทั้งใน-นอกระบบ...
เร่งกรรมาธิการฯพิจารณา กม.ทวงหนี้ ร้องเพิ่มมาตรการเยียวยาลูกหนี้

กก.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน นักกฎหมาย...
สถานการณ์ที่อยู่อาศัย กับ การคุ้มครองผู้บริโภคไทย แค่ไหนถึงเป็นธรรม?

  วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี สหประชาชาติได้กำหนดให้เป็น...
เผยผลโพล ระบุ ก๊าซหุงต้มแพงเกินจริง จี้พาณิชย์คุมราคา

เมื่อวันที่ 28 มกราคม ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการบริการสาธารณะ...
พระครูวิมลปัญญาคุณแนะผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์

  วันนี้ (20 มิ.ย. 58) พระครูวิมลปัญญาคุณ วัดป่าศรีแสงธรรม จ.อุบลราชธานี...
ฉลากแป้งฝุ่นทาผิวในประเทศไทยยังไม่มีคำเตือน อันตรายเสี่ยงมะเร็ง

หลังข่าว ศาลชั้นต้นแห่งเมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี สหรัฐอเมริกา...
สปช.หารือ ผู้บริโภค-ผู้ประกอบการ ปรับกม.เลมอลลอว์ คอบช.ชี้ให้ยกร่างกม.ใหม่

  สปช.คุ้มครองผู้บริโภค เชิญ องค์กรผู้บริโภค สคบ. สภาหอการค้าฯ...
เอายาปฏิชีวนะ ออกจากอาหารของเรา

ปัจจุบัน ๕๐% ของยาปฏิชีวนะทั่วโลก ถูกใช้ในทางการเกษตร...
สานพลังปัญญาและภาคี สร้างวิถีสุขภาวะไทย

วันที่ 21 ธ.ค. 2558 รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์...
คอบช.พร้อมภาคี 158 องค์กรจี้ 'รมว.สธ-อย.' ติดฉลากแสดงสินค้า GMOs

คอบช. พร้อม ภาคี 158 องค์กร เข้ายื่นหนังสือต่อ รมว.สาธารณสุข และ อย....