2nd benefit

2nd benefit

องค์กรผู้บริโภค- สปช.ชี้ รัฐต้องกล้าหาญออก กม.องค์การอิสระผู้บริโภค

IMG 5042คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน และคณะกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค สภาปฏิรูปแห่งชาติ ชี้ กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่มีอยู่ยังไม่ตอบโจทย์ประชาชน ขาดตัวแทนผู้บริโภคในการในการให้ความเห็น เสนอรัฐต้องกล้าหาญออกกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค

วันนี้ (15 มี.ค. 58) คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน (คอบช.) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับ คณะกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.คุ้มครองผู้บริโภค) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงาน "สมัชชาผู้บริโภค และวันสิทธิผู้บริโภคสากล" ที่โรงแรมเซนจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ ในวันที่ 15-16 มีนาคม 2558 เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศ, ให้ภาคีเครือข่ายทราบความก้าวหน้าและติดตามการคุ้มครองผู้บริโภค จัดทำข้อเสนอในเชิงนโยบายและกำหนดทิศทางในการพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภค และรณรงค์วันสิทธิผู้บริโภคสากล

นางสาวสารี  อ๋องสมหวัง ในฐานะประธานกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวในเวทีอภิปราย "สิทธิผู้บริโภค การปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค" ในงานสมัชชาผู้บริโภคและรณรงค์วันสทิธิผู้บริโภคสากล ว่าบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคนั้นขณะนี้คณะกรรมาธิการฯ ได้ทำข้อเสนอกรอบยกร่างรัฐธรรมนูญทั้งหมด 19 ประเด็น โดยมี 3 ประเด็น ที่กรรมาธิการยกร่างรับไปแล้วคือ 1) กำหนดให้มีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค 2) รัฐต้องส่งเสริมระบบเศรษฐกิจแบบเสรีอย่างเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ และต้องป้องกันการผูกขาด ตลอดจนรัฐต้องส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง  3) รัฐต้องจัดให้มีหลักประกันด้านความปลอดภัยของสินค้าและบริการ รวมถึงให้มีระบบหรือกลไกคุ้มครองผู้บริโภคตามหลักการป้องกันไว้ล่วงหน้า  

"ขณะนี้คณะกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภคฯ ได้ผลักดันผ่านสภาปฏิรูป 2 เรื่อง นั่นก็คือคือการคิดค่าโทรตามจริงเป็นวินาที เราต้องการการกำกับที่ดี ไม่ต้องการการส่งเสริมการขาย การแก้กฎหมาย กสทช. ก็ไม่ได้ตอบคำถาม และเราจะร่วมมือกับคณะกรรมาธิการสาธารณสุข ทำกฎหมายคุ้มครองความเสียหายจากบริการสาธารณสุข แต่ขณะนี้ยังไม่ได้รับหลักการในรัฐสภาเลย"  

saree004นางสาวสารีกล่าวเพิ่มเติมถึงบทบาทหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กับ องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคว่า ไม่ได้ทำงานซ้ำซ้อนกัน อาทิเช่น กรณีการคิดค่าโทรตามจริงเป็นวินาที สคบ. มีอำนาจหน้าที่ปรับผู้ประกอบการได้ถึงวันละ 2 แสนบาท แต่สคบ.ก็ไม่ได้ทำ ซึ่งองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคนั้นทำหน้าที่นี้ไม่ได้ แต่จะทำหน้าที่ให้ความเห็นปัญหานโยบาย  นอกจากนี้หลายหน่วยงานก็ไม่มีตัวแทนผู้บริโภคเข้าไปเป็นกรรมการ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ไม่มีตัวแทนผู้บริโภคในการให้ความเห็น แต่ถ้ามีองค์การอิสระฯจะเข้าไปทำหน้าที่ตรงนี้ ฯลฯ

"การผลักดันให้เกิดองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคนั้นเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะรวมพลังกัน  ผลักดันให้เกิดขึ้น  ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อทุกคน  รัฐบาลเองก็ต้องกล้าที่จะผลักดันให้กฎหมายตัวนี้เกิดขึ้น

วันที่ 15 มีนาคมของทุกปี ถือเป็น “วันสิทธิผู้บริโภคสากล” World Consumer Rights Day ซึ่งปีนี้สหพันธ์ผู้บริโภคสากลที่เน้นความสำคัญเรื่อง “สิทธิผู้บริโภคในการได้รับอาหารที่ดีต่อสุขภาพ” (Consumers  Rights to healthy food) จึงชวนให้ผู้บริโภคร่วมผลักดันในเรื่องอาหารนั่นคือมีฉลากอาหารที่ดี ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค  และให้ความสำคัญกับการควบคุมคุณภาพอาหารในโรงเรียนและโรงพยาบาล รวมถึงส่งเสริมและติดตามการกำหนดมาตรการอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค"

IMG 5033ด้าน ดร.เดือนเด่น  นิคมบริรักษ์  กรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน  ด้านการเงินการธนาคาร  กล่าวถึงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านดิจิทอลอีโคโนมี  ที่มีการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต  จำเป็นต้องมีมาตราการคุ้มครองผู้บริโภค

"ในต่างประเทศมีกลุ่มผู้ประกอบการลุกขึ้นมาทำงานคุ้มครองผู้บริโภคกันเอง  โดยรวมกลุ่มกันและให้ตราสัญลักษณ์รับรองสินค้ากันเอง และสามารถติดตามขั้นตอนของการส่งสิ้นค้าหรือสามารถยกเลิกการสั่งซื้อสินค้าด้วยการโทรไปที่บัตรเครติดได้เลย อีกเรื่องที่ต้องคำนึงถึงคือการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในยุคดิจิทอลอีโคโนมี  การให้ข้อมูลส่วนตัวของผู้บริโภคก็เป็นเรื่องสำคัญและมีปริมาณมากขึ้น  ถือเป็นนโยบายคุ้มครองผู้บริโภคเชิงรุก  ซึ่งในบ้านเรายังไม่มี" กรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน  ด้านการเงินการธนาคารกล่าว

ดร.เดือนเด่น ยังกล่าวถึง พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคลว่า กฎหมายใหม่นั้นหากเราเป็นผู้ป่วยแล้วต้องการย้ายโรงพยาบาลจะไปขอข้อมูลประวัติการรักษากับทางโรงพยาบาลไม่ได้ เนื่องจากกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลกำหนดให้ข้อมูลการรักษาเป็นข้อมูลของโรงพยาบาล

นอกจากนี้ยังกล่าวถึงองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคว่า การมีองค์การอิสระฯ นั้นทำให้ตัวแทนผู้บริโภคมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายและได้รับการยอมรับ รัฐบาลต้องยอมรับว่าการคุ้มครองผู้บริโภคที่ผ่านมาดีแล้วหรือยัง ทำได้แค่ไหน ต้องมีการประเมินผลงาน  ยกตัวอย่างกรณีธนาคารแห่งประเทศไทย  มีประกาศระเบียบเพิ่มเติม การสมัครบัตรเอทีเอ็มมีการโฆษณาขายพวงประกัน ขณะนี้มีการให้แยกโต๊ะขายเอทีเอ็มลับประกันแยกโต๊ะกัน และห้ามอยู่ในใบเดียวกัน นี่คือเรื่องที่ต้องไปตรวจสอบ

"การคิดอัตราดอกเบี้ยมีการโฆษณาต่างๆ แต่มาดูเนื้อในพบว่าไม่ใช่ ธนาคารแห่งประเทศไทยบอกว่าออกประกาศมาแล้ว แต่เราตรวจสอบพบว่ามีการโฆษณาบอกแต่ตัวเล็กมา ซึ่งเราเป็นประชาชนไม่ได้มีหน้าที่ไปตรวจสอบ เป็นหน้าที่ของหน่วยงาน แต่เราก็ต้องทำ  การกู้ยืมเงินซื้อบ้านก็ถูกบังคัให้ซื้อประกัน ซึ่งในต่างประเทศมีกฎหมายกรณีซื้อประกัน แต่เป็นลักษณะมีเงินดาวน์ไม่พอจึงมีเงื่อนไขให้ต้องซื้อประกัน ซึ่งควรมีเงื่อนไขในการซื้อประกันไม่ใช่บังคับให้ซื้อโดยไม่มีเงื่อนไข ถึงเวลาที่จะต้องมีองค์การอิสระผู้บริโภค"

 

บทความเนื้อหาใกล้เคียงกัน:

|

Tags: องค์การอิสระ,